ผลกระทบ ของ มูกทะเล

ปริมาณมูกทะเลที่เพิ่มขึ้นในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอื่น ๆ ได้รับการศึกษาเป็นทางการครั้งแรกอย่างช้าที่สุดในช่วงต้นปี 2009 ส่วนหนึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[9] น้ำทะเลที่อุ่นขึ้นเคลื่อนไหวช้าและน้อยลง มีผลสัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณการเกิดมูกทะเลโดยเฉพาะการปล่อยให้สะสมตัวเป็นก้อนขนาดใหญ่[6] มูกทะเลได้รับบันทึกเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1729 และถูกมองว่าเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมการประมงและประชากรสัตว์น้ำชายฝั่ง ผลกระทบเมื่อเร็ว ๆ นี้มูกทะเลไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญ ยังก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงอีกด้วย อนุภาคของหนืดของมูกทะเลสามารถเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียเช่น อี. โคไล ที่คุกคามพืชและสัตว์ในทะเล ตลอดจนมนุษย์ที่สัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อน นอกจากนี้มูกทะเลยังสามารถเคลือบเหงือกของสัตว์ทะเล ทำให้ขาดออกซิเจนและตาย

การรั่วไหลของน้ำมันจากแท่นดีพวอเทอร์ฮอไรซัน ในอ่าวเม็กซิโกทำให้เกิดมูกทะเลจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนในกระบวนการเกิดทะเลที่มีสาเหตุจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบในทะเล ทฤษฎีหนึ่งสันนิษฐานว่ามูกทะเลอาจก่อผลให้เกิดการฆ่าล้างสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและจุลินทรีย์ในทะเลจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดหิมะทะเลปริมาณมากและสะสมตัวเป็นมูกทะเล นักวิทยาศาสตร์กังวลว่ามูกทะเลจำนวนมากเหล่านี้ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายทางชีวภาพต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่เหลือในพื้นที่[10] เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่ามูกทะเลที่เกิดจากการรั่วไหลโดยตรง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตของสัตว์และพืชทะเลในอ่าวเม็กซิโก แสดงจากหลักฐานการตายของทุ่งปะการังน้ำลึกในระยะ 11 กิโลเมตรโดยรอบจากแท่นขุดเจาะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน[11]

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2564 มูกทะเลได้แพร่กระจายในทะเลมาร์มะรา เนื่องจากมลพิษจากน้ำเสียที่ทิ้งลงสู่ทะเล[12] นำไปสู่การแพร่ขยายของแพลงก์ตอนพืชและเป็นภัยร้ายแรงต่อระบบนิเวศทางทะเล[13][14] ท่าเรือเออร์เดคในทะเลมาร์มะราถูกปกคลุมด้วยมูกทะเล[15] ซึ่งคนงานชาวตุรกีได้พยายามอย่างมากในการเริ่มดูดกำจัดมูกทะเลในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564[16] ขณะเดียวกันท่าเรือยาลิเคย (Yalıköy port) ในจังหวัดออร์ดูในทะเลดำ ก็พบการสะสมของเมือกเช่นกัน[17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มูกทะเล http://news.nationalgeographic.com/news/2009/10/09... http://news.nationalgeographic.com/news/2010/09/10... http://www.theguardian.com/environment/2021/may/25... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19759910 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21490648 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2739426 http://boingboing.net/2010/09/24/sea-snot-explodes... //doi.org/10.1038%2F472152a //doi.org/10.1093%2Fplankt%2Ffbv071 //doi.org/10.1371%2Fjournal.pone.0007006