ปัจจัย ของ มูกทะเล

เมือกทะเล หรือมูกทะเล "โดยพื้นฐานเป็นกลุ่มจุลินทรีย์จำนวนมหาศาลที่เพิ่มจำนวนอย่างมากจากสารอาหารที่มากเกิน โดยเฉพาะจากของเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดแล้วปล่อยลงสู่ทะเล" ศาสตราจารย์ฮือเซยึน แอร์ดูกัน (Hüseyin Erduğan) จากภาควิชาชีววิทยาของมหาวิทยาลัยออนเซคึซมาร์ท (Onsekiz Mart) และ "แท้จริงแล้ว เมือกเป็นสารประกอบเอ็กโซพอลิแซคคาไรด์ที่เกิดจากจุลินทรีย์ (exopolysaccharide −พอลิเมอร์ชีวภาพที่ประกอบด้วยพอลิแซคคาไรด์เป็นส่วนใหญ่ สร้างโดยจุลินทรีย์และถูกหลั่งออกมานอกเซลล์ในลักษณะเมือก) และมลพิษทางน้ำเป็นตัวซ้ำเติมให้ปัญหามูกทะเลที่เกิดจากจุลินทรีย์เหล่านั้นทวีความรุนแรงขึ้น"[4] การเพิ่มขึ้นของมูกทะเลมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณอย่างมากของระดับฟอสฟอรัส (ที่ประมาณมากกว่าสามถึงสี่เท่าของค่าเฉลี่ยต่อปี) และกับปริมาณสารอาหารอื่น ๆ ของจุลินทรีย์ที่มากเกินไป[5] รวมทั้งสภาวะแห้งแล้ง อุณหภูมิของน้ำทะเลที่อบอุ่นยาวนานกว่าปกติ และภูมิอากาศที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลานาน[2] ทำให้อนุภาคของหนืดที่ล่องลอยในทะเล (เช่น หิมะทะเล) จับตัวกัน (สะสมตัว) เป็นกลุ่มก้อนมูกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งอาจขยายได้กว้างถึง 200 กิโลเมตร[6]

ภายในเมือกมีองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่จุลินทรีย์หลายชนิด เช่นไวรัสและโพรแคริโอต และสารประกอบเอกโซพอลีเมอร์ที่มีคุณสมบัติเป็นคอลลอยด์[7] มูกทะเลยังถูกผลิตขึ้นโดยแพลงก์ตอนพืชเมื่อเกิดความเครียด[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มูกทะเล http://news.nationalgeographic.com/news/2009/10/09... http://news.nationalgeographic.com/news/2010/09/10... http://www.theguardian.com/environment/2021/may/25... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19759910 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21490648 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2739426 http://boingboing.net/2010/09/24/sea-snot-explodes... //doi.org/10.1038%2F472152a //doi.org/10.1093%2Fplankt%2Ffbv071 //doi.org/10.1371%2Fjournal.pone.0007006