มโนสำนึกของฟินเนกัน
มโนสำนึกของฟินเนกัน

มโนสำนึกของฟินเนกัน

มโนสำนึกของฟินเนกัน (อังกฤษ: Finnegans Wake) เป็นนวนิยายชวนขัน (Comic novel) และงานชิ้นสุดท้ายที่เขียนโดยเจมส์ จอยซ์ ที่เขียนโดยใช้ลักษณะการเขียนแบบทดลอง ที่มีผลให้ได้ชื่อว่าเป็นงานวรรณกรรมนวนิยายชิ้นที่ยากแก่การเข้าใจมากที่สุดชิ้นหนึ่งของภาษาอังกฤษ[1][2] จอยซ์ใช้เวลาถึง 17 ปีในการเขียนงานชิ้นนี้ในปารีส และในที่สุดก็ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1939 สองปีก่อนที่จอยซ์จะเสียชีวิต หนังสือทั้งเล่มเขียนโดยใช้จินตภาษา (idioglossia/idiosyncratic language) ที่ประกอบด้วยการเล่นคำ และคำสมาสที่จอยซ์สร้างขึ้นเอง (จินตสมาส (portmanteau)) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สร้างบรรยากาศของจิตสำนึกที่อยู่ในสภาพระหว่างการหลับและการฝัน[3] การเขียนโดยการใช้การทดลองทั้งโครงสร้างและการใช้ภาษา, การเขียนตามกระแสสำนึก, การใช้นัยยะ, การใช้นัยประหวัดอิสระ[4] (Free association) และการละทิ้งการเขียนแบบที่มีโครงเรื่อง และ ตัวละคร ทำให้ “มโนสำนึกของฟินเนกัน” กลายเป็นหนังสือที่ยังไม่ได้รับการอ่านโดยสาธารณชนส่วนใหญ่[5][6]“มโนสำนึกของฟินเนกัน” เป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่โมเดิร์นไลบรารีจัดให้เป็นลำดับที่เจ็ดสิบเจ็ดของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library 100 Best Novels) ในบรรดานวนิยายที่ถือว่าดีเด่นของคริสต์ศตวรรษที่ 20[7]

มโนสำนึกของฟินเนกัน

สำนักพิมพ์ Faber and Faber
ประเภท Sui generis
เรื่องก่อนหน้า ยูลิสซีส (ค.ศ. 1922) 
LC Class PR6019.O9 F5 1999
เลขทศนิยมดิวอี 823/.912 21
ผู้ประพันธ์ เจมส์ จอยซ์
OCLC 42692059
ISBN 0-14-118126-5
ภาษา อังกฤษ
ชนิดสื่อ การพิมพ์: (หนังสือปกแข็ง และ หนังสือปกอ่อน)
วันที่พิมพ์ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1939

แหล่งที่มา

WikiPedia: มโนสำนึกของฟินเนกัน http://books.google.com/books?id=xznjIaZC3nkC&pg=P... http://www.randomhouse.com/modernlibrary/100bestno... http://www.randomhouse.com/modernlibrary/about/boa... http://books.rediff.com/bookshop/bkproductdisplay.... http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php http://books.google.co.uk/books?id=0j-ehka0ZLsC&pg... http://books.google.co.uk/books?id=hIg80jT5aOIC&pg... https://www.worldcat.org/oclc/42692059