การทำงาน ของ ยศ_เทพหัสดิน_ณ_อยุธยา

พล.อ.ยศ เข้ารับราชการทหารครั้งแรกในยศร้อยตรี เป็นผู้บังคับหมวดทหารราบ กองพันทหารราบที่ 19 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2483 และเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 3 และรองผู้บัญชาการทหารบก

พล.อ.ยศ ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ในปี พ.ศ. 2511[1] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[2] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา (ครม.41)[3]

ร่วมก่อการกบฎ

ในปี พ.ศ. 2528 พล.อ.ยศ เข้าร่วมกับนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย พันเอก มนูญ รูปขจร นาวาอากาศโท มนัส รูปขจร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอก เสริม ณ นคร พลอากาศเอก กระแส อินทรรัตน์ พลตรี ทองเติม พบสุข พันเอก ประจักษ์ สว่างจิต พันเอก สาคร กิจวิริยะ ร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง อาทิ เอกรัฐ ษรารุรักษ์ และพลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน อาทิ สวัสดิ์ ลูกโดด ประทิน ธำรงจ้อย โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจาก เอกยุทธ อัญชันบุตร พยายามยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรป ซึ่งการกระทำการครั้งนั้นถูกเรียกว่า "กบฏทหารนอกราชการ" หรือ กบฏ 9 กันยา[4] หรือ กบฏสองพี่น้อง[5] เป็นความพยายามรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528