กบฏทหารนอกราชการ
กบฏทหารนอกราชการ

กบฏทหารนอกราชการ

กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา[1] หรือ กบฏสองพี่น้อง[2] เป็นความพยายามรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ของนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย พันเอก มนูญกฤต รูปขจร (ขณะนั้นใช้ชื่อว่า มนูญ รูปขจร) นาวาอากาศโท มนัส รูปขจร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอก เสริม ณ นคร พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลอากาศเอก กระแส อินทรรัตน์ พลตรี ทองเติม พบสุข พันเอก ประจักษ์ สว่างจิต พันเอก สาคร กิจวิริยะ ร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง อาทิ เอกรัฐ ษรารุรักษ์ และพลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน อาทิ นาย สวัสดิ์ ลูกโดด นาย ประทิน ธำรงจ้อย โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจาก เอกยุทธ อัญชันบุตร การกบฏครั้งนี้พยายามยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรปการกบฏครั้งนี้ยังถือเป็นการใช้ความพยายามรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จครั้งสุดท้าย ที่เรียกว่า "กบฏ" อีกด้วย นอกจากนี้ยังถือเป็นความพยายามรัฐประหารรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ครั้งสุดท้าย ภายหลังความล้มเหลวในการก่อการของกบฏยังเติร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2524

กบฏทหารนอกราชการ

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่9 กันยายน พ.ศ. 2528
สถานที่กรุงเทพมหานคร
ผลลัพธ์ผู้ก่อการกบฎล้มเหลว ต้องหลบหนีออกไปต่างประเทศ
สถานที่ กรุงเทพมหานคร
ผลลัพธ์ ผู้ก่อการกบฎล้มเหลว ต้องหลบหนีออกไปต่างประเทศ
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528