ประเทศที่จัดซื้อเข้าประจำการและกำลังพิจารณา ของ ยาส_39

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538 ซ้าบและบริติช แอโรสเปซ (British Aerospace) (BAE Systems) ตกลงร่วมมือกันในด้านการตลาดของกริพเพนในชื่อกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) และต่อมาได้ยุติความร่วมมือลง หลังจากมีผลประโยชน์ขัดกันในกรณีการเสนอกริพเพนและยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่นเข้าแข่งขันพร้อมกันในออสเตรีย ทำให้ ซ้าบ กลับมาถือหุ้นทั้งหมดในกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล

ณ ปัจจุบัน มีผู้ใช้ Gripen อันประกอบไปด้วย
  •  สวีเดน
    • สั่งซื้อเข้าประจำการจำนวนกว่า 200 ลำ ทั้งรุ่น เอ/บี และ ซี/ดี แต่เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้มีการลดจำนวนการประจำการลงเหลือ 100 ลำ โดยจะปรับปรุงรุ่น เอ/บี จำนวน 31 ลำให้เป็นมาตรฐาน ซี/ดี และขายเครื่องที่เหลือให้กับลูกค้าต่างประเทศที่สนใจ [61]
  •  แอฟริกาใต้
    • สั่งซื้อเข้าประจำการจำนวน 28 ลำในปี พ.ศ. 2542 โดยแอฟริกาใต้ร่วมทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องร่วมกับสวีเดน และจะเริ่มรับเครื่องในปี พ.ศ. 2551 นี้
  •  ฮังการี
    • เช่าซื้อจำนวน 14 ลำในปี พ.ศ. 2544 โดยเมื่อหมดสัญญาเช่า 10 ปีแล้ว เครื่องบินจะเป็นกรรมสิทธิของฮังการีโดยถาวร
  •  เช็กเกีย
    • เช่า 14 ลำในปี พ.ศ. 2547 และเช็กกำลังตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องเป็นกรรมสิทธิหลังจากหมดสัญญาเช่าในเวลา 10 ปีหรือไม่
ยาส39 ของกองทัพอากาศไทยประเทศที่ได้อนุมัติการสั่งซื้อ
  •  บราซิล
    • ได้สั่งซื้อกริพเพน รุ่น E จำนวน 28 ลำ และรุ่น F จำนวน 8 ลำ
สำหรับประเทศอื่น ๆ ที่สนใจนั้นมีดังนี้
  • บัลแกเรีย สนใจที่จะจัดหาจำนวน 20 เครื่องทดแทน MiG-29
  • อินเดีย มีโครงการจัดหาเครื่องบินรบ 126 ลำ แต่คาดว่ากริพเพนไม่น่าจะได้รับการคัดเลือก
  • กลุ่มประเทศบอลติก สนใจจะเช่าใช้งานจำนวน 12 เครื่อง
  • บราซิล เริ่มต้นโครงการ F-X ใหม่อีกครั้ง และคาดว่ากริพเพนจะเข้าร่วมแข่งขันด้วย
  • โครเอเซีย ต้องการเครื่องบิน 12 เครื่องตามโครงการปรับปรุงกองทัพ โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งขันกับ เอฟ-16 มือสองจากสหรัฐ
  • กรีซ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดซื้อเครื่องบินรบอีก 30 - 40 เครื่อง
  • โรมาเนีย ต้องการเครื่องบินขับไล่ 40 เครื่อง โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งกันกับ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น ของยุโรป
  • สโลวาเกีย ต้องการเครื่องบิน 14 เครื่องเพื่อทดแทน MiG-29 แต่ยังไม่มีการประกาศโครงการออกมาอย่างเป็นทางการ
  • สวิสเซอร์แลนด์ ต้องการเครื่องบินทดแทน F-5 จำนวน 20 - 33 เครื่อง โดยสวิสเซอร์แลนด์ได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่นขันทั้ง 4 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ/เอ-18อี/เอฟ, ราฟาล, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริเพน ส่งข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว และคาดว่าจะทำการตัดสินใจได้ในปี 2552
  • นอร์เวย์ ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ โดยได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่งขันทั้ง 3 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ-35, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริเพน ส่งข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว และคาดว่าจะทำการตัดสินใจได้ในปี 2552
  • เดนมาร์ก ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยาส_39 http://www.saabsystems.com.au/brochures/ncw/Tactic... http://www.gripen.com.br/download/18.988707fc16e9d... http://www.defencetalk.com/news/publish/airforce/S... http://www.defense-aerospace.com/dae/articles/comm... http://www.defenseindustrydaily.com/brazil-embarki... http://www.defenseindustrydaily.com/the-jas39-grip... http://www.defensenews.com/story.php?i=3627265&c=E... http://www.flightglobal.com/articles/2007/09/07/21... http://www.flightglobal.com/articles/2008/02/15/22... http://www.flightglobal.com/articles/2008/04/17/22...