ประวัติการใช้งาน ของ ยาส_39

ประเทศผู้ใช้งานในปัจจุบัน

กริพเพนที่กำลังบินขึ้นจากทางวิ่งซ้าบ 39 กริพเพนของกองทัพอากาศเช็กยาส 39 ดีของกองทัพอากาศฮังการี

กริพเพนเข้าประจำการอยู่ในกองทัพอากาศสวีเดนซึ่งได้สั่งซื้อเอาไว้ 204 ลำ (รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 28 ลำ)[29]

กองทัพอากาศเช็กและกองทัพอากาศฮังการีก็ใช้กริพเพนเช่นกัน โดยใช้เครื่องบินของสวีเดนประเทศละ 14 ลำ โดยในที่สุดพวกเขาก็จะเป็นเจ้าของพวกมัน ทั้งสองประเทศเป็นผู้ใช้รายแรกในกลุ่มนาโต้[30][31]

กองทัพอากาศแอฟริกาใต้เริ่มได้รับเครื่องบินทั้ง 26 ลำ (รวมทั้งแบบสองที่นั่ง) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[32]และกำลังส่งมอบอยู่[2] เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 มีการส่งมอบแบบสองที่นั่ง 9 ลำ

กริพเพนยังได้รับการสั่งซื้อจากกองทัพอากาศไทย จำนวน 6 ลำ โดยสี่ลำเป็นแบบสองที่นั่ง และได้รับมอบเมื่อวันที่ 22/02/2554 และได้รับการจัดซื้อชุดที่ 2 เป็นแบบ C จำนวน 6 เครื่อง กำหนดส่งมอบในปี 2556[33]

โรงเรียนฝึกนักบินรบ Empire Test Pilots' School ของ ทอ.อังกฤษ ก็ใช้กริพเพน รุ่น 2 ที่นั่ง ในการฝึกนักบินจากทั่วโลกเช่นกัน (บริษัท BAE กับ Saab ร่วมกันพัฒนาเครื่องกริเฟน)

ประเทศที่จะเป็นและอาจเป็นผู้ใช้ในอนาคต

บราซิล

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานว่ากองทัพอากาศบราซิลได้ลือกผู้เข้าชิงสามรายสุดท้ายในโครงการเอฟ-เอ็กซ์2 ของพวกเขา โดยมีดัซโซลท์ ราฟาเอล เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท และกริพเพน เอ็นจี[34][35] จำนวนที่สั่งซื้อคือประมาณ 36 ลำและอาจเพิ่มขึ้นเป็น 120 ลำในเวลาต่อมา การตัดสินใจเกิดขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซ้าบได้ยอมรับความต้องการกริพเพน เอ็นจีทั้ง 36 ลำของกองทัพอากาศบราซิล[36]

โครเอเชีย

กองทัพอากาศโครเอเชียได้ประกาศแผนในการแทนที่มิก-21 ของพวกเขาด้วยยาส 39 กริพเพนหรือเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน[37] โครงการสุดท้ายนั้นต้องการเครื่องบิน 12-18 ลำ ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 คณะบริหารกองกำลังป้องกันสวีเดนและซ้าบได้ตอบกลับความต้องการของโครเอเชียเพื่อขอข้อมูลในการจัดหาเครื่องบินทั้ง 12 ลำ[38][39] เนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการเมือง กองทัพอากาศโครเอเชียจะยังไม่ทำการตัดสินใจจนกว่าจะถึงปีพ.ศ. 2553[40]

เดนมาร์ก

เดนมาร์กได้ทำสัญญาระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมของตนกับของสวีเดนเพื่อทำการพัฒนากริพเพน โดยเดนมาร์กต้องการมันไปแทนที่เอฟ-16 จำนวน 48 ลำของพวกเขา เดนมาร์กยังได้ร้องขอกริพเพนรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมอีกด้วย มันจะรวมทั้งชุดระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบใหม่ เครื่องยนต์ที่ทรงพลังและใหญ่ขึ้น น้ำหนักบรรทุกที่มากขึ้น และพิสัยไกลยิ่งขึ้น[14] การร้องขอนี้เป็นจุดเริ่มต้นของกริพเพน เอ็นจี ซึ่งมีความต้องการของเดนมาร์กครบทุกอย่าง อย่างเครื่องยนต์เอฟ414จีที่ทรงพลังมากกว่าเดิม[41]

อินเดีย

กริพเพนได้เข้าร่วมแข่งขันในอินเดียน เอ็มอาร์ซีเอ คอมเพทิชั่นที่ต้องการเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทจำนวน 126 ลำ กริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลได้ยื่นข้อเสนอให้กับอินเดียในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 บริษัทกำลังเสนอกริพเพน ไอเอ็นและเอ็นจีให้กับอินเดีย[42]และได้ทำการเปิดที่ทำงานในกรุงนิวเดลีเพื่อที่ให้กับสนับสนุนในตลาดของอินเดีย[43] ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการประกาศว่าซ้าบได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับทาทา กรุ๊ปเพื่อพัฒนากริพเพนรุ่นใหม่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของอินเดีย[44][45]

เนเธอแลนด์

ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ดาเจนส์ อินดัสทรี (Dagens Industri) ได้รายงานว่าเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศว่าพวกเขาจะทำการประเมินยาส 39 กริพเพน เอ็นจีพร้อมกับเครื่องบินอีกสี่ลำที่ร่วมแข่งขันและได้ประกาศผลเมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2551[46] ซ้าบตอบกลับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 251 เพื่อร่วมในโครงการหาเครื่องบินทดแทนของกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์ ด้วยการเสนอเครื่องบิน 85 ลำให้กับกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์[47] เนเธอร์แลนด์ยังทำการประเมินระหว่างกริพเพน เอ็นจีกับเอฟ-35 อีกด้วย[48] ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สื่อได้รายงานว่าเนเธอร์แลนด์ได้ทำการประเทินเอฟ-35 ว่าเหนือกว่ากริพเพน โดยกล่าวว่าเอฟ-35 นั้นมีการทำงานที่ดีและราคาที่ถูกกว่า[49][50][51] ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เอ็นอาร์ซี แฮนเดลส์บลาด (NRC Handelsblad) อ้างว่าซ้าบได้ทำข้อเสนอให้กับเนเธอร์แลนด์ด้วยการส่งมองกริพเพน 85 ลำในราคา 4,800 ล้านยูโร ซึ่งถูกกว่าเอฟ-35 1 พันล้านยูโร[52] ราคานี้ยังรวมทั้งค่าฝึกนักบินและการบำรุงรักษาไปอีก 30 ปี[53]

สวิตเซอร์แลนด์

ในวันที่ 17 มการาคม พ.ศ. 2551 คณะบริหารการป้องกันของสวิตเซอร์แลนด์ได้เชิญกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลเพื่อหาเครื่องบินมาทดแทนเอฟ-5[54] ซ้าบได้ตอบรับด้วยการยื่นข้อเสนอในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยจำนวนที่แท้จริงของเครื่องบินยังเป็นความลับอยู่[55]

ประเทศอื่นๆ

บัลแกเรียได้ประกาศว่าพวกเขาต้องการแทนที่มิโคยัน มิก-21 ของพวกเขาด้วยยาส 39ซี/ดี 16 ลำ[56]หรือใช้เอฟ-16 16 ลำแทน

กองทัพอากาศโรมาเนียได้ประกาศว่าพวกเขาจะแทนที่มิก-21 แลนเซอร์ของพวกเขาในปี พ.ศ. 2551 โดยอาจเป็นยาส 39 กริพเพน เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน หรือยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูน[57][58]

ทางการเซอร์เบียเองก็ได้หารือเรื่องเครื่องบินที่จะเข้ามาแทนที่มิก-21 ของพวกเขาใน พ.ศ. 2553 พวกเขาต้องการเครื่องบิน 24 ลำและกริพเพนก็อยู่ในทางเลือกของพวกเขา

ประเทศอื่นๆ ที่แสดงความสนใจในกริพเพนยังรวมทั้งสโลวาเกียอีกด้วย[59][60]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยาส_39 http://www.saabsystems.com.au/brochures/ncw/Tactic... http://www.gripen.com.br/download/18.988707fc16e9d... http://www.defencetalk.com/news/publish/airforce/S... http://www.defense-aerospace.com/dae/articles/comm... http://www.defenseindustrydaily.com/brazil-embarki... http://www.defenseindustrydaily.com/the-jas39-grip... http://www.defensenews.com/story.php?i=3627265&c=E... http://www.flightglobal.com/articles/2007/09/07/21... http://www.flightglobal.com/articles/2008/02/15/22... http://www.flightglobal.com/articles/2008/04/17/22...