ภูมิหลัง ของ ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป

เนินเขาสูงที่มีความสูง 300 เมตร (980 ฟุต) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อเพราะรูปร่างภูมิประเทศคล้ายพอร์กช็อป (เนื้อหมูสันนอกติดกระดูก)[2] ได้ถูกยึดครั้งแรกโดยกรมทหารม้าที่ 8 ของสหรัฐในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1951[3] ซึ่งถูกยึดอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1952 โดยกองร้อยไอจากกรมทหารราบที่ 180 ของสหรัฐ ส่วนกองพันที่ 1 ของกรมทหารราบที่ 21 ของไทย ซึ่งประจำอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 ของสหรัฐได้ป้องกันตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1952 และตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1952 มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันตอนของแนวรบของกองพลทหารราบที่ 7 ของสหรัฐ เนินพอร์กช็อปเป็นหนึ่งในด่านหน้าที่มีเนินเขาหลายแห่งตามแนวต้านหลัก (MLR) ของสหประชาชาติ ที่ได้รับการป้องกันโดยกองร้อยหรือหมวดทหารเดี่ยว ซึ่งอยู่ในบังเกอร์กระสอบทรายที่เชื่อมต่อกับสนามเพลาะ[4]

ฝ่ายตรงข้ามกองพลทหารราบที่ 7 นั้นเป็นสองกองพลของกองทัพอาสาประชาชนจีน (PVA) ได้แก่ กองพลที่ 141 ของกองทัพที่ 47 และกองพลที่ 67 ของกองทัพที่ 23 กองพลเหล่านี้เป็นทหารผ่านศึก ซึ่งเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี มีประสบการณ์ในการจู่โจมตอนกลางคืน, การลาดตระเวน, ซุ่มโจมตี และการสงครามภูเขา กองทัพทั้งสอง (หน่วยเทียบเท่าเหล่า) เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพสนามที่ 13 ที่ได้รับคำสั่งจากพลเอก เติ้ง หัว ซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการกองกำลังกองทัพอาสาประชาชนในเกาหลี[4]

กองกำลังฝ่ายตรงข้ามในภาคนี้มีขนาดพอ ๆ กัน โดยมีกองพลที่ 7 (พลตรี อาร์เธอร์ ทรูโด เป็นผู้บังคับบัญชา) รวมกับกองพันทหารราบ 11 กองพัน (รวมถึงกองพันที่ติดมาจากโคลอมเบียและเอธิโอเปีย), หนึ่งกองพันยานเกราะ และ 6 กองพันทหารปืนใหญ่ ในขณะที่กองกำลังกองทัพอาสาประชาชนมี 12 กองพันทหารราบ, 10 กองพันทหารปืนใหญ่ และเทียบเท่ากับกองพันรถถังหนึ่งกองพัน[4]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู