การสงครามกองโจรในฐานะความต่อเนื่อง ของ ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการสงครามกองโจร

การจัดตั้งการสงครามกองโจรแบบทำให้เข้าใจง่าย

การก่อการกำเริบ หรือสิ่งที่เหมา เจ๋อตง เรียกว่าสงครามแห่งธรรมชาติปฏิวัติ การสงครามกองโจรสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความต่อเนื่อง[1] ในระดับต่ำสุดเป็นการตีโฉบฉวยขนาดเล็ก, การซุ่มโจมตี และการโจมตี ในสมัยโบราณการกระทำเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับนโยบายของชนเผ่าขนาดเล็กที่ต่อสู้กับอาณาจักรที่ใหญ่กว่า เช่นเดียวกับในการต่อสู้ของโรมกับชนเผ่าสเปนมานานกว่าศตวรรษ ในยุคสมัยใหม่พวกเขาดำเนินต่อไปด้วยปฏิบัติการของกลุ่มกบฏ, กลุ่มปฏิวัติ และกลุ่มก่อการร้าย ส่วนปลายด้านบนประกอบด้วยยุทธศาสตร์ทางการเมืองและการทหารแบบบูรณาการ ประกอบด้วยหน่วยทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีส่วนร่วมในการสงครามซึ่งเคลื่อนทีได้ง่าย และการเคลื่อนย้ายอย่างไม่หยุดหย่อน ทั้งในระดับ "กองโจร" ต่ำสุด และที่มีขนาดใหญ่ รูปขบวนเคลื่อนที่ง่ายพร้อมด้วยอาวุธสมัยใหม่

ช่วงหลังมาถึงการแสดงออกอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติการของเหมา เจ๋อตง ในประเทศจีน และหวอ เงวียน ซ้าป ในประเทศเวียดนาม ในระหว่างนั้นเป็นสถานการณ์ขนาดใหญ่ที่หลากหลาย – จากสงครามยืดเยื้อกับอิสราเอลโดยปาเลสไตน์นอกแบบในยุคเดียวกัน ถึงปฏิบัติการนอกแบบของสเปนและโปรตุเกสพร้อมด้วยหน่วยตามแบบแผนของนายพลอังกฤษเวลลิงตัน ในระหว่างสงครามคาบสมุทรต่อต้านนโปเลียน[2]

การก่อความไม่สงบสมัยใหม่และการสงครามประเภทอื่นอาจรวมถึงการรบแบบกองโจรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแบบบูรณาการ พร้อมด้วยลัทธิตบตา, การจัดตั้ง, ทักษะความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการโฆษณาชวนเชื่อ กองโจรอาจมีขนาดเล็ก, กลุ่มคนผู้โจมตีที่กระจัดกระจาย แต่พวกเขายังสามารถทำงานเคียงข้างกันกับกองกำลังปกติ หรือรวมกันเพื่อปฏิบัติการเคลื่อนที่ที่หลากหลายในหมู่, หมวด หรือขนาดกองพัน หรือแม้กระทั่งรูปแบบหน่วยตามแบบแผน ขึ้นอยู่กับระดับความซับซ้อนและการจัดตั้งของพวกเขา พวกเขาสามารถเปลี่ยนระหว่างวิธีเหล่านี้ทั้งหมดตามสถานการณ์ที่ต้องการ การสงครามกองโจรที่ประสบความสำเร็จนั้นยืดหยุ่น ไม่คงที่

ใกล้เคียง

ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการสงครามกองโจร ยุทธศาสตร์กู้ชาติของราชามือใหม่ ยุทธศักดิ์ สุภสร ยุทธศาสตร์โซเวียต ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศิลป์ ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์หลงจง