ยุทธเวหาที่ลำปาง

ประเทศไทย เดิมเป็นประเทศที่วางตัวเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นบุกครอง ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เวลาประมาณ 02.00 น. กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย และปะทะกับทหารไทยและยุวชนก่อนรัฐบาลจะมีคำสั่งหยุดยิงเมื่อเวลา 11.00 น. หลังจากนั้นมีการทำสนธิสัญญาทหารระหว่างสองประเทศ ในช่วงแรกของสงครามแปซิฟิก ญี่ปุ่นกดดันให้รัฐบาลไทยเปิดทางให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไปยังพม่าและบริติชมาลายา ซึ่งรัฐบาลไทยนำโดยจอมพล ป. พิบูลสงครามยินยอมเนื่องจากญี่ปุ่นให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบดินแดนอินโดจีนบางส่วนที่เสียให้ฝรั่งเศสคืนหลังร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประเทศไทยยังคงมีอำนาจในการจัดการกำลังพลและกิจการภายใน ซึ่งคล้ายคลึงกับความสัมพันธ์ระหว่างนาซีเยอรมนีกับฟินแลนด์ บัลแกเรีย และโรมาเนีย[1] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายจอมพล ป. พิบูลสงครามกับฝ่ายเสรีไทย ขบวนการใต้ดินที่ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นนำโดยปรีดี พนมยงค์ โดยขบวนการเสรีไทยนี้มีส่วนในการต่อรองเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามยุติ ทำให้ไทยไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าประเทศที่ร่วมมือกับฝ่ายอักษะอื่น ๆ

ใกล้เคียง

ยุทธเลิศ สิปปภาค ยุทธเวหาที่บริเตน ยุทธเวหาที่ลำปาง ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน (การทัพของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร) ยุทธการที่เยรีโค ยุทธการที่เดิงแกร์ก ยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน ยุทธการที่เคอนิชส์แบร์ค ยุทธการที่เรฟีดิม ยุทธการเอนดอร์