การดำเนินการอาชญากรสงคราม ของ ยุทธเวหาที่ลำปาง

ระหว่างนี้ได้มีการออกกฎหมายอาชญากรสงครามมาเพื่อให้ผู้กระทำผิดต้องขึ้นศาลไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมทั้งอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาระดับสูงหลายคน เช่น หลวงวิจิตรวาทการ, จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์, พลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นต้น จึงถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีในประเทศไทย และต่อมาไม่ต้องรับโทษเพราะศาลฎีกาวินิจฉัยว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังและอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ระบุเรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายอาชญากรสงคราม ทั้งนี้มีผู้วิจารณ์ว่าการออกกฎหมายอาชญากรสงครามก็เพื่อไม่ให้คนไทยถูกส่งไปดำเนินคดีในต่างประเทศอันจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศและทำให้เสียเปรียบในการเจรจาหลังสงคราม หรือบางแหล่งก็ว่าเป็นการช่วยเหลือจอมพล ป. ให้พ้นโทษ ในขณะที่อาชญากรสงครามของประเทศอื่น ๆ ถูกจับกุมและประหารชีวิตในที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

ข้อพิพาทอังกฤษ-สหรัฐต่อประเทศไทย

อังกฤษถือว่าการที่ไทยได้เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามต่ออังกฤษ ได้สร้างความเสียหายต่ออังกฤษและอังกฤษมีสิทธิจะเรียกร้องความเสียหายนั้นจากไทย นอกจากนี้ อังกฤษยังต้องการรื้อฟื้นระบบอาณานิคมของตนในเอเชียตะวันออกขึ้นมาใหม่[26] หลังจากที่อิทธิพลของตนในอาณานิคมต่าง ๆ เสื่อมถอยลงจากการรุกรานของญี่ปุ่น เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ท่าทีของอังกฤษขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสหรัฐอเมริกาไม่อยากถูกมองว่าเข้าร่วมสงครามเพื่อรักษาระบบอาณานิคมของชาติใด[26] สหรัฐต้องการจัดระเบียบโลกใหม่ให้เป็นตามกฎบัตรแอตแลนติก หนึ่งในนโยบายของสหรัฐคือการคงเอกราชของไทยไว้เพื่อเป็นตัวอย่างนโยบายของตัวเองต่อภูมิภาค สหรัฐกรานปกป้องไทยซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก[26] โดยถือว่าไทยในขณะนั้นเป็นดินแดนที่ถูกข้าศึกครอบครอง และไม่ยอมรับว่าไทยประกาศสงครามต่อตัวเองตามแนวคิดของขบวนการเสรีไทย

ใกล้เคียง

ยุทธเลิศ สิปปภาค ยุทธเวหาที่บริเตน ยุทธเวหาที่ลำปาง ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน (การทัพของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร) ยุทธการที่เดิงแกร์ก ยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน ยุทธการที่เยรีโค ยุทธการที่เคอนิชส์แบร์ค ยุทธการที่เรฟีดิม ยุทธการเอนดอร์