ข้อจำกัดและปัญหา ของ ยูนิโคด

มีการวิจารณ์ยูนิโคดเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิค และข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ยูนิโคดได้กลายเป็นวิธีการเข้ารหัสที่ใช้กันมากที่สุดในการทำให้ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการใช้ได้หลายภาษาพร้อม ๆ กัน

ระบบปฏิบัติการตระกูลวินโดวส์ ได้แก่วินโดวส์เอ็นที, วินโดวส์ 2000 และ วินโดวส์เอกซ์พี ใช้รหัสยูนิโคดแบบ UTF-16 ในการเข้ารหัสข้อความ ระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับยูนิกซ์ เช่น GNU/Linux BSD และ Mac OS X ก็ได้นำยูนิโคดแบบ UTF-8 มาใช้ เป็นพื้นฐานของการแทนข้อความที่มีหลายภาษา

การรองรับภาษาไทยในยูนิโคด ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากว่าลำดับเรียงตัวอักษรนั้นไม่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นเพราะว่ายูนิโคดในส่วนภาษาไทยได้อ้างอิงรูปแบบเดิมจาก Thai Industry Standard 620 (TIS-620) ที่มีปัญหานี้เช่นกัน จึงทำให้การเทียบเรียงลำดับยูนิโคดยุ่งยากขึ้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยูนิโคด http://www.decodeunicode.org/ http://www.unicode.org/Public/1.1-Update/UnicodeDa... http://www.unicode.org/Public/2.0-Update/UnicodeDa... http://www.unicode.org/Public/2.1-Update/UnicodeDa... http://www.unicode.org/Public/3.0-Update/UnicodeDa... http://www.unicode.org/Public/3.1-Update/UnicodeDa... http://www.unicode.org/Public/3.2-Update/UnicodeDa... http://www.unicode.org/Public/4.0-Update/UnicodeDa... http://www.unicode.org/Public/4.1.0/ucd/UnicodeDat... http://www.unicode.org/Public/5.0.0/ucd/UnicodeDat...