ยูโรปา_(ดาวบริวาร)
ยูโรปา_(ดาวบริวาร)

ยูโรปา_(ดาวบริวาร)

ยูโรปา (อังกฤษ: Europa,  /jʊəˈroʊpə/, บุพบท: Europan) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1610) โดย กาลิเลโอ กาลิเลอี (เชื่อว่าในเวลาเดียวกันนั้น ไซมอน มาริอุส ก็ค้นพบด้วยเช่นเดียวกัน) ชื่อของดาวมาจากนางกษัตริย์ในตำนานปกรณัมกรีกคือยูโรปา (กรีกโบราณ: Εὐρώπη) ผู้ได้แต่งงานกับเทพซูสและได้เป็นราชินีแห่งครีต ยูโรปาเป็นดาวบริวารดวงเล็กที่สุดในบรรดาดวงจันทร์ของกาลิเลโอ‎ทั้ง 4 ดวงยูโรปามีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3,000 กิโลเมตร มีบรรยากาศที่เบาบางประกอบไปด้วยออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ พื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งและมีความเรียบมากนี้ประกอบไปด้วยรอยแตกและเส้นริ้วบาง ๆ โดยมีหลุมอุกกาบาตอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น พื้นผิวที่เรียบและดูใหม่นี้เองที่ทำให้เกิดสมมติฐานว่า มีมหาสมุทรอยู่ข้างใต้ซึ่งสามารถเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่างดาวได้ โดยสมมติฐานนี้เสนอว่าแรงดึงดูดที่มีมากของดาวพฤหัสบดีสร้างความร้อนให้กับยูโรปาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 นาซาได้รายงานการตรวจพบแร่ธาตุที่คล้ายกับดิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟิลโลซิลิเกต) ซึ่งปะปนอยู่กับอินทรียวัตถุบนเปลือกน้ำแข็งของยูโรปา นอกจากนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลยังตรวจพบพลูมไอน้ำคล้ายกับพลูมที่ตรวจพบในเอนเซลาดัส ดาวบริวารของดาวเสาร์ปฏิบัติการของยานสำรวจกาลิเลโอได้ส่งข้อมูลของยูโรปากลับมาเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มียานอวกาศลำใดที่ลงสำรวจในดาวบริวารดวงนี้ แต่ลักษณะพิเศษที่น่าสนใจของยูโรปาก็ทำให้มันเป็นเป้าหมายของปฏิบัติการอันทะเยอทะยานหลายปฏิบัติการ ปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์น้ำแข็งดาวพฤหัส (JUICE) ขององค์การอวกาศยุโรปนั้นมีกำหนดการในปี พ.ศ. 2565[11] ส่วนนาซาก็ได้วางแผนส่งหุ่นยนต์ปฏิบัติการบนยูโรปาราวกลางคริสต์ทศวรรษที่ 2020[12]

ยูโรปา_(ดาวบริวาร)

พื้นที่ผิว: 3.09×107 กม.2 (0.061 ของโลก) [4]
องค์ประกอบ: ออกซิเจน
ดาวบริวารของ: ดาวพฤหัสบดี
คาบการหมุนรอบตัวเอง: คาบหมุนสมวาร [6]
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 3.013±0.005 ก./ซม.3 [3]
ความเร็วหลุดพ้น: 2.025 กม./ว.[2]
รัศมีเฉลี่ย: 1,560.8±0.5 กม. (0.245 ของรัศมีโลก) [3]
ความเอียงของแกน: 0.1° [7]
ค้นพบโดย: กาลิเลโอ กาลิเลอี
ไซมอน มาริอุส
อัตราส่วนโมเมนต์ความเฉื่อย: 0.346±0.005 [5] (โดยประมาณ)
อุณหภูมิพื้นผิว:   พื้นผิวต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
≈50 K102 K125 K [9]
โชติมาตรปรากฏ: 5.29 [8] (ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์)
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร: 13.740 กม./ว.[3]
ค้นพบเมื่อ: 8 มกราคม พ.ศ. 2152
ปริมาตร: 1.593×1010 กม.3 (0.015 ของโลก) [4]
อัตราส่วนสะท้อน: 0.67 ± 0.03 [8]
ระยะจุดไกลศูนย์กลางวงโคจรที่สุด: 676 938 กม.[2]
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว: 0.1 µPa (10-12 บาร์) [10]
ความเอียง: 0.470° (กับแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี)
1.791° (กับระนาบสุริยวิถี) [3]
คาบการโคจร: 3.551 181 วัน (บนโลก) [3]
ระยะจุดใกล้ศูนย์กลางวงโคจรที่สุด: 664 862 กม.[2]
รัศมีวงโคจรเฉลี่ย: 670 900 กม.[3]
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร: 1.314 ม./ว.2 (0.134 ก.) [2]
มวล: 4.799844±0.000013×1022 กก. (0.008 ของโลก) [3]
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.009[3]
ชื่ออื่น ๆ: Jupiter II

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยูโรปา_(ดาวบริวาร) http://apnews.excite.com/article/20140304/DACB5P9O... http://books.google.com/books?id=8GcGRXlmxWsC&pg=P... http://www.solarviews.com/eng/europa.htm http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/2014EO2... http://www.lpl.arizona.edu/~showman/publications/s... http://geology.asu.edu/~glg_intro/planetary/p8.htm http://zimmer.csufresno.edu/~fringwal/w08a.jup.txt http://adsabs.harvard.edu/abs/2005Icar..175..233B http://www-paoc.mit.edu/paoc/papers/europa_plume.p... http://galileo.rice.edu/sci/marius.html