รถจักรไอน้ำแปซิฟิค_CX50
รถจักรไอน้ำแปซิฟิค_CX50

รถจักรไอน้ำแปซิฟิค_CX50


รถจักรไอน้ำแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 (CX50 steam locomotive) (JNR Class CX50) (ญี่ปุ่น: CX50形)[1] ส่วนใหญ่เรียกว่ารถจักรนี้ว่า รถจักรไอน้ำแปซิฟิค เป็นชุดรถจักรไอน้ำสุดท้ายของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในประเทศไทย สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น จุดประสงค์หลักของรถจักรชุดนี้คือใช้ลากรถโดยสารเช่นขบวนรถธรรมดา และรถเร็ว ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 เหลือส่วนห้องขับทั้งหมด 2 ห้องที่สวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) ได้แก่ของหมายเลข 823 และ 841 และเหลือการใช้งาน 2 คัน คือหมายเลข 824 และ 850 ซึ่งจะวิ่งในวันสำคัญต่างๆ[2] รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 มีการนำมาใช้งานในประเทศไทย จำนวนรถทั้งสิ้น 40 คัน คือหมายเลขรถ 283-292 และ 821-850 โดยการนำเข้ามาใช้งาน แบ่งเป็นสองช่วง (ล็อต) ต่อไปนี้

รถจักรไอน้ำแปซิฟิค_CX50

ระบบห้องขับ มี 1 ห้องขับ,ฝั่ง
จำนวนคันทั้งหมด 40 คัน
น้ำหนัก จอดนิ่ง 51.3 ตัน
ทำงาน 31.5 ตัน
กดเพลา 10,500 กก.
ผู้สร้าง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น, ประเทศญี่ปุ่น
ความเร็วสูงสุด 100 กม./ชม.
เริ่มใช้งาน พ.ศ. 2485-พ.ศ. 2486, พ.ศ. 2492-พ.ศ. 2494
ความจุ 10 มลบ.
หมายเลข 283-292, 821-850
การจัดวางล้อ 4-6-2 (แปซิฟิก)
พิกัดตัวรถ กว้าง 2,750 มม.
สูง 3,850 มม.
ยาว 19,335 มม.
จำนวนคันที่ถูกตัดบัญชี 38 คัน
ชื่อทางการ รถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ชั้น CX50
แรงม้า 1280 แรงม้า
จำนวนคันที่คงเหลือใช้งาน 2 คัน
ชนิด รถจักรไอน้ำ
ระบบห้ามล้อ สุญญากาศ (ลมดูด) (ลมอัด, เฉพาะหมายเลข 824 และ 850 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555)
จำนวนคันที่ปรับปรุง 2 คัน
ใช้งานใน ประเทศไทย โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย
รวมระยะเวลาใช้งานทั้งหมด 78 ปี

ใกล้เคียง

รถจักรดีเซล DD51 รถจักรไอน้ำ รถจักร รถจักรดีเซลในประเทศไทย รถจักรยาน รถจักรไอน้ำ C56 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่น มิกาโด รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 รถจักรยานยนต์ตำรวจ รถจักรยานยนต์