รายละเอียดปลีกย่อยของระบบ ของ รถโดยสารด่วนพิเศษ_สายสาทร–ราชพฤกษ์

รถโดยสาร
  • ตัวรถ เป็นรถโดยสารตอนเดียว ความยาว 12 เมตร กว้าง 2.54 เมตร สูง 3.44 เมตร ใช้เครื่องยนต์ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) มาตรฐาน EURO III กำลังไม่น้อยกว่า 170 กิโลวัตต์ หรือไม่น้อยกว่า 230 แรงม้า ถังบรรจุก๊าซ 900 ลิตร ระบบเบรกล้อหน้าและหลังแบบดิสก์เบรก (disc brake) รับน้ำหนักบรรทุกรวมไม่เกิน 18,000 กิโลกรัม จุผู้โดยสารคันละไม่ต่ำกว่า 80 คน (เทียบเท่าการใช้รถยนต์ส่วนตัว 67 คัน) มีที่นั่งผู้โดยสาร 20 ที่นั่ง เบื้องต้นได้จัดซื้อมาใช้ในโครงการจำนวน 25 คัน (วิ่งจริง 22 คัน สำรอง 2 คัน ซ่อมบำรุง 1 คัน)
  • ลวดลายรถ เป็นลายเส้นสีเขียวบนตัวรถสีเหลือง จากการประกวดออกแบบลวดลายรถบีอาร์ทีในหัวข้อ "แต่งแต้มสีสันให้ Bangkok BRT-Put Your Colors on Bangkok BRT" ที่จัดโดยกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยคณะกรรมการกำหนดสีเขียวและสีเหลืองเป็นสีประจำระบบ ผู้ชนะเลิศคือนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีแรงบันดาลใจมาจากการตวัดข้อมือในการเขียนลายเส้นดินสออย่างรวดเร็ว หมายถึงการบริการที่มีความสะดวก รวดเร็วทันใจ แต่ก็มีความมั่นคง สามารถที่จะบังคับทิศทางได้ คือความปลอดภัย ความมีมาตรฐาน และคุณภาพของบริการ ลายเส้นบ่งบอกถึงความพลิ้วไหวซึ่งยังอยู่ในความควบคุมของมือ น้ำหนักลายเส้นที่หนักไปทางด้านท้ายของตัวรถแสดงให้เห็นว่ารถคันนี้กำลังเคลื่อนไปด้านหน้า[2]
  • ภายในรถ มีระบบข้อมูลผู้โดยสารซึ่งประกาศชื่อสถานีบนจอแสดงภาพแบบแอลอีดี (light destination indicator) โดยอัตโนมัติ และมีป้ายอิเล็กทรอนิกส์บอกจุดหมายปลายทางด้านหน้ารถ นอกจากนี้ยังมีระบบระบุพิกัดตำแหน่งตัวรถ และมีการส่งคลื่นวิทยุไปยังศูนย์ควบคุมที่เกี่ยวข้อง
  • ระบบเกี่ยวกับความปลอดภัยในรถ มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ภายในรถ พร้อมเครื่องบันทึกภาพที่สามารถบันทึกภาพในระบบดิจิทัลได้ไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง, กล้องโทรทัศน์วงจรปิดภายนอกรถด้านหลังเพื่อช่วยในการถอยรถ พร้อมจอภาพสำหรับพนักงานขับรถ, ปุ่มกดเพื่อแจ้งขอหยุดรถแบบฉุกเฉิน, ถังดับเพลิง 2 ชุด, ระบบนำร่องเข้าจอดที่ชานชาลาสถานีบังคับตัวรถเข้าชิดชานชาลาโดยอัตโนมัติ และมีประตูบานเลื่อนระบบเซ็นเซอร์อัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยระหว่างผู้โดยสารขึ้นลงรถ
  • สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการที่นั่งรถเข็น รถทุกคันจะมีตัวล็อกรถเข็น 2 คัน ซึ่งมีทางพาดออกจากตัวรถเทียบกับชานชาลาเมื่อขึ้นลงรถ
  • ระบบการเดินรถ ใช้ระบบขนส่งอัจฉริยะ (intelligent transportation systems/ITS) เป็นระบบอาณัติสัญญาณควบคุมการเดินรถบีอาร์ทีให้ได้รับไฟเขียวทันทีที่เดินรถผ่านแยก และสามารถบอกได้ว่ารถบีอาร์ทีคันต่อไปจะมาถึงในอีกกี่นาที โดยติดตั้งที่บริเวณถนน สถานี และศูนย์ควบคุมการเดินรถ
  • เวลาให้บริการ : 06.00-24.00 น.
  • ความถี่ในการเดินรถ ชั่วโมงเร่งด่วน 5 นาทีต่อคัน (06.30-09.30 น. และ 16.00-20.00 น.) นอกชั่วโมงเร่งด่วน 10 นาทีต่อคัน (รวมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ความเร็วเฉลี่ย 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เดินรถคันละ 6 เที่ยวหรือ 200 กิโลเมตรต่อวัน
  • เวลาเดินทางเฉลี่ย ช่วงสถานีละ 5-7 นาที หรือตลอดสาย 25-35 นาที (เร็วกว่ารถยนต์ทั่วไปที่ใช้เวลาเฉลี่ย 45 นาที-1 ชั่วโมง)
  • ตั๋วโดยสาร มีระบบตั๋วไร้สัมผัส (contactless smart card) ที่รองรับการใช้ตั๋วร่วมกับระบบรถไฟฟ้าได้
  • จุดจอดแล้วจร (park&ride) อยู่ที่สถานีราชพฤกษ์ (ไม่ได้เปิดให้บริการ)
  • สถานีก๊าซเอ็นจีวี และศูนย์ซ่อมบำรุงรถบีอาร์ที อยู่ที่บริเวณโรงบำบัดน้ำเสียช่องนนทรี ด้วยความร่วมมือจาก ปตท.[3]
  • โครงการนี้ คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการ 35,000 คนต่อวัน จะทำให้ผู้ใช้รถส่วนตัวบนเส้นทางหันมาใช้ระบบบีอาร์ทีได้ประมาณ 6,000 คน มีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ประมาณ 180-200 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยเดือนละ 12-15 ล้านบาท

ใกล้เคียง

รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถโดยสารประจำทางสาย 8 รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ รถโดยสารสองชั้น รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางในฮานอย รถโดยสารประจำทางนครพนมเปญ รถโดยสารประจำทางด่วน