รถโดยสารด่วนพิเศษ_สายสาทร–ราชพฤกษ์
รถโดยสารด่วนพิเศษ_สายสาทร–ราชพฤกษ์

รถโดยสารด่วนพิเศษ_สายสาทร–ราชพฤกษ์

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ หรือสายช่องนนทรี–ราชพฤกษ์ เป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที (BRT) สายนำร่องของกรุงเทพมหานคร และเป็นสายแรกของประเทศไทย เดินรถบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์, ถนนพระรามที่ 3, สะพานพระราม 3 และถนนรัชดาภิเษก–ท่าพระ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร มีจุดจอดรับส่งผู้โดยสาร 12 สถานี โดยจัดช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติบนพื้นถนนเดิมในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นบนสะพานข้ามทางแยกและสะพานพระราม 3ที่เดินรถในช่องเดินรถมวลชน (high-occupancy vehicle/HOV lane) ร่วมกับรถยนต์ที่มีผู้โดยสารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และบริเวณทางแยกบางจุดที่ใช้ช่องทางร่วมกับรถทั่วไปโครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ในสมัยของอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยงบประมาณ 1,400 ล้านบาท หลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 เริ่มก่อสร้างจริงเมื่อปี พ.ศ. 2550 และมีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงปี พ.ศ. 2551–2552 แต่ได้เกิดความล่าช้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้การก่อสร้างสถานีเสร็จสมบูรณ์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว เนื่องจากการจัดหาตัวรถหยุดชะงักไปถึง 9 เดือนภายใต้กระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวมไปถึงความล่าช้าในกระบวนการจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ, การก่อสร้างทางเดินเชื่อมสถานีสาทรกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่องนนทรีที่แยกสาทร–นราธิวาส และการก่อสร้างช่องทางเดินรถเฉพาะสำหรับบีอาร์ที แต่ในภายหลังสามารถเปิดให้บริการได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[1]จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ออกแถลงการณ์ที่จะยกเลิกโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 ด้วยเหตุผลหลักคือขาดทุนสะสมปีละกว่า 200 ล้านบาท พ่วงด้วยปัญหาด้านการจราจรที่หนักยิ่งกว่าเดิม อาทิ ระบบไม่สามารถทำเวลาได้เนื่องจากประชาชนลักลอบใช้เส้นทาง และเพิ่มปัญหาการจราจรบนถนนทั้งถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระรามที่ 3 โดยโครงสร้างของสถานีทั้งหมดจะถูกรื้อทิ้ง และทำเป็นรถไฟฟ้าสายสีเทาส่วนใต้ พระโขนง–ช่องนนทรี–ท่าพระ โดยให้รถที่มาจากแยกวิทยุเลี้ยวเข้าถนนสาทร และหักเลี้ยวเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนวิ่งตามเส้นทางเดิมของรถโดยสารบีอาร์ทีต่อไป แต่หลังจากการแถลงกลับเกิดเสียงคัดค้านอย่างหนักเนื่องจากประชาชนยังคงมีความต้องการในการใช้เส้นทาง และบางส่วนมองว่าการยกเลิกโครงการจะทำให้ภาษีที่ถูกนำมาสร้างกลายเป็นเงินก้อนที่เปล่าประโยชน์ไป กรุงเทพมหานครจึงตัดสินใจเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไปก่อน และปรับอัตราค่าโดยสารจากเดิม 5 บาท เป็น 15 บาทตลอดสาย จนกว่าจะได้ความแน่นอนเรื่องการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทา

ใกล้เคียง

รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถโดยสารประจำทางสาย 8 รถโดยสารสองชั้น รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางในฮานอย รถโดยสารประจำทางนครพนมเปญ รถโดยสารประจำทางในฮ่องกง