รถไฟฟ้าสายสีเทา

รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ) เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องของ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) โดยกระทรวงคมนาคม และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สถานะเดิมของกรมการขนส่งทางราง) ได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบันคือ พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการเชื่อมเส้นทางจากชานเมืองฝั่งเหนือของกรุงเทพมหานคร ให้เข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว แก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสุขุมวิท ถนนสาทร ถนนพระรามที่ 3 และตามวงแหวนถนนรัชดาภิเษก ตลอดจนนำระบบขนส่งเข้าสู่ถนนที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนตัดผ่าน คือถนนประดิษฐ์มนูธรรมเส้นทางดังกล่าวปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2552 (M-Map 1) พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า โดยกำหนดเป็นหนึ่งในเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ ของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ก่อนถูกยกเลิกไปเมื่อครั้งการปรับแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชน (M-Map 1) เมื่อ พ.ศ. 2554 เนื่องจากไม่อยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ต่อมา กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการแบบต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ก่อนที่ สนข. จะยกสถานะขึ้นเป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง ต่อไปโครงการได้รับการเสนอเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว แนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองช่วงแยกขาดจากกัน ช่วงแรกมีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9 จากนั้นข้ามเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วง Missing Link บางซื่อ - หัวหมาก เพื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) เพื่อสิ้นสุดเส้นทางช่วงแรกที่สถานีทองหล่อ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และช่วงที่สองมีจุดเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีพระโขนง จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนพระรามที่ 4 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย และสถานีลุมพินี แล้วเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสาทรไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีช่องนนทรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ที่จะยกเลิกโครงการไปจนถึงปลายทางสถานีราชพฤกษ์ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกจุดหนึ่งที่สถานีตลาดพลู แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษกไปสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีก 1 จุด ระยะทางรวมประมาณ 40 กิโลเมตรปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ได้ฟื้นฟูโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาขึ้นมาใหม่ คาดว่าจะเปิดประมูลโครงการในระยะแรกได้ใน พ.ศ. 2563 - 2564 และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2564 - 2565 โดยการดำเนินการจะเริ่มดำเนินการในส่วนเหนือ และส่วนใต้ช่วงลุมพินี-ท่าพระ เป็นลำดับแรก เนื่องจากเส้นทางส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบด้านการเวนคืน ยกเว้นช่วงพระโขนง-ลุมพินี ที่จะต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินมาพัฒนาโครงการเพิ่มเติม

รถไฟฟ้าสายสีเทา

รูปแบบ รางเดี่ยว
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
เจ้าของ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
จำนวนสถานี 39
ระบบ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
ความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
สถานะ โครงการ
เส้นทาง 2 (เหนือ - ใต้)
เปิดเมื่อ พ.ศ. 2566
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ระยะทาง 40 กิโลเมตร
ปลายทาง สถานีวัชรพล
สถานีท่าพระ
ผู้ดำเนินงาน รอเอกชนเข้าร่วมประมูล

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้า มาหานะเธอ