แบ่งตามจังหวัด ของ รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย

ในกรุงเทพและปริมณฑลให้บริการโดย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัทเอกชนอื่น ๆ มีหลายเส้นทางและหลายประเภท ส่วนในเขตต่างจังหวัดให้บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

รถโดยสารประจำทางสายแรกของไทย คือ รถเมล์นายเลิศ โดยพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) พ.ศ. 2450 นายเลิศทดลองกิจการรถเมล์ขั้นต้น โดยใช้ม้าลากรถโดยสารจากสะพานยศเส (กษัตริย์ศึก) ถึงประตูน้ำ จากนั้น พ.ศ. 2453 ได้สั่งรถบรรทุกยี่ห้อฟอร์ดจากต่างประเทศ และได้ขยับขยายเส้นทางวิ่งให้ไกลขึ้น คือจากประตูน้ำสระไปจนถึงบางลำพู (ประตูใหม่ตลาดยอด) รถเมล์ยุคแรกยาวประมาณ 1 ใน 3 ของรถเมล์ปัจจุบัน นั่งได้ 10 คน ตัวรถทาสีขาว มีเครื่องหมายกากบาทสีแดงในวงกลมแดง คนทั่วไปเรียกรถเมล์นี้ว่า รถเมล์ขาว[1] ภายหลังมีผู้ลงทุนกิจการรถเมล์ตามแบบนายเลิศเกิดขึ้นอีก 28 ราย ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์ขาวทั้งสิ้น 800 คัน มีการกำหนดสายติดหน้ารถไว้ เช่น หลักเมือง-ถนนตก เป็นสายที่ 1 ก็มีเบอร์ 1 ติดหน้ารถ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2518 มีคำสั่งให้รวมรถโดยสารประจำทางทุกสายในกรุงเทพฯ มาเป็นบริษัทเดียวกัน เรียกว่า บริษัท มหานครขนส่ง จำกัด ดำเนินกิจการในรูปรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาในสมัยรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนเกิดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. เป็นรัฐวิสาหกิจ[2]

นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารของบริษัทเอกชนอื่นๆ ให้บริการควบคู่ไปด้วย โดยแบ่งเป็นรถร่วมบริการ ขสมก. และรถเอกชนที่อยู่ภายใต้การกำกับของกรมการขนส่งทางบก โดยมีผลสืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 ที่ประชุมได้มีมติให้ยกเลิกมติ ครม. เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2526 และให้โอนการกำกับดูแลการเดินรถขนส่งสาธารณะจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพไปอยู่ภายใต้การกำกับของกรมการขนส่งทางบก ส่งผลให้ ขสมก. มีสถานะเป็นเพียงผู้เดินรถรายหนึ่งเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

จังหวัดปทุมธานี

มีรถประจำทางที่ให้บริการโดย บริษัท กิตติสุนทร จำกัด (และบริษัทในเครือ) ให้บริการครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปทุมธานี (ยกเว้นอำเภอหนองเสือ) จังหวัดนนทบุรี รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อำเภอบางปะอิน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งมีเส้นทางเดินรถในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในฐานะรถร่วมบริการ ขสมก. อีกด้วย

บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด ให้บริการในพื้นที่ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

บริษัท เทพอู่ทองขนส่ง จำกัด ให้บริการในพื้นที่ อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ต่อไปนี้คือรายชื่อรถประจำทางในจังหวัดปทุมธานี[3]

  • 33 ปทุมธานี - สนามหลวง
  • 90 หัวถนนฯ - หมอชิต 2
  • 188 ปทุมธานี - บางเลน
  • 188 ปทุมธานี - ประตูน้ำสิงหนาท
  • 337 ปทุมธานี - นพวงศ์
  • 337 ปทุมธานี - เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
  • 337 นพวงศ์ - เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
  • 359 ปทุมธานี - ปากเกร็ด
  • 367 รังสิต - ปากเกร็ด
  • 367 รังสิต - นนทบุรี (รถปรับอากาศ)
  • 372 รังสิต - บางปะอิน
  • 374 สะพานใหม่ - ลำลูกกาคลอง 16
  • 374 ปากทางลำลูกกา - ฟ้าคราม
  • 374 ปากทางลำลูกกา - เปียร์นนท์
  • 374 ปากทางลำลูกกา - ตลาดลาดสวาย
  • 374 ลำลูกกาคลอง 9 - ธัญบุรีคลอง 8
  • 387 ปากเกร็ด - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
  • 383 รังสิต - ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
  • 391 ลาดหลุมแก้ว - เมืองทองธานี
  • 391 ปทุมธานี - นพวงศ์
  • 646 นนทบุรี - เสนา (รถธรรมดาและรถปรับอากาศ)
  • 646 เสนา - รังสิต (รถปรับอากาศ)
  • 680 รังสิต - บางใหญ่ (รถธรรมดาและรถปรับอากาศ)
  • 1111 ปทุมธานี - เชียงราก
  • 1117 ลำลูกกาคลอง 9 - ธัญบุรีคลอง 7
  • 1138 ปทุมธานี - วัดเวฬุวัน
  • 1138 ปทุมธานี - รังสิต
  • 1147 ปทุมธานี - ปู่โพธิ์
  • 1148 ปทุมธานี - บ้านพร้าว - เชียงราก
  • 6249 รังสิต - บางกะดี
  • 6250 รังสิต - ลำลูกกา คลอง 9 (รถธรรมดาและรถปรับอากาศ)
  • สายปทุมธานี - ประตูน้ำไม้ตรา - ประตูน้ำนามสนธิ
  • สายสองแถววัดไพร่ฟ้า

จังหวัดพิษณุโลก

เคยมีรถประจำทางของบริษัทเอกชนที่ชาวพิษณุโลกนิยมเรียกกันว่า รถเมล์บ้านเรา (ปัจจุบันได้ยุติการให้บริการแล้ว)

เทศบาลนครขอนแก่น

ขอนแก่นซิตี้บัส (Khon Kaen City Bus) เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 มีเส้นทางให้บริการทั้งสิ้น 3 สาย(ทั้งหมดใช้เลขสาย ปอ.24) ประกอบด้วย

  • สายสีเขียว (ท่าอากาศยานขอนแก่น - รอบเมือง - สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3)
  • สายสีแดง (วงกลมรอบเมือง - สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 (วนขวา))
  • สายสีน้ำเงิน (วงกลมรอบเมือง - สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 (วนซ้าย))

อัตราค่าโดยสาร ผู้ใหญ่ 15 บาท เด็ก/นักเรียน 10 บาท ตลอดสาย[4]

จังหวัดภูเก็ต

บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PCKD) ได้เปิดเดินรถโดยสาร ภูเก็ตสมาร์ทบัส โดยวิ่งระหว่าง ท่าอากาศยานภูเก็ต - หาดราไวย์ (ค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 50 - 170 บาท)[5] ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 โดยการชำระค่าโดยสารต้องชำระด้วยบัตรแรบบิทเท่านั้น

เทศบาลนครเชียงใหม่

บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) ซึ่งเป็นกลุ่มทุนพัฒนาเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ได้เปิดเดินรถโดยสารขนส่งมวลชน(เชียงใหม่สมาร์ทบัส) ดังนี้

  • สาย R1 สวนสัตว์เชียงใหม่ - เซ็นทรัลเฟสติวัล เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 20.30 น. โดยรถจะมี 2 สี คือ สายสีเขียวและสีม่วง
  • สาย R1(พิเศษ) สวนสัตว์เชียงใหม่ - ตลาดจริงใจ - เซ็นทรัลเฟสติวัล เริ่มทดลองให้บริการตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2562 โดยให้บริการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์[6]
  • สาย R2 ประตูท่าแพ - หนองหอย - ห้างฯ พรอมเมนาดา เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2561
  • สาย R3 ท่าอากาศยานเชียงใหม่ - ถนนนิมมานเหมินท์ - คูเมืองเชียงใหม่ โดยมี 2 สาย คือ สายสีเหลือง(วนซ้าย)และสายสีแดง(วนขวา) เวลาให้บริการ 6.00 - 24.00 น.[7] เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2561
  • สาย R3(พิเศษ) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ - อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เริ่มทดลองให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562[8]
  • สาย B4 สนามบินเชียงใหม่ - ถนนมหิดล - ขนส่งอาเขต เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2561

หมายเหตุ ทุกสายเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย[9] การชำระค่าโดยสารสามารถเลือกชำระด้วยเงินสด (จ่ายให้พนักงานขับรถ) หรือใช้บัตรแรบบิท

(ปัจจุบันรถโดยสาร RTC เชียงใหม่งดให้บริการชั่วคราว)

จังหวัดเชียงราย

บริษัท ธนภณ 888 จำกัด ได้เปิดเดินรถโดยสาร เชียงรายซิตี้บัส โดยวิ่งระหว่าง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย - สถานีขนส่งจังหวัดเชียงราย แห่งที่ 1 - สถานีขนส่งจังหวัดเชียงราย แห่งที่ 2 เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย[10]

เทศบาลนครอุดรธานี

บริษัท อุดรธานีพัฒนาเมือง จำกัด เป็นผู้จัดหารถโดยสาร Smart Bus รถเมล์ปรับอากาศแบบชานต่ำ จำนวน 30 ที่นั่ง พร้อมระบบ Free WiFi, CCTV, GPS, APP สามารถเช็คตำแหน่งรถได้[11] ในโครงการอุดรซิตี้บัส จำนวน 3 เส้นทางประกอบด้วย

  • สาย 10 สถานีรถไฟ - รอบเมือง (วิ่งวนซ้าย - ขวา) ปัจจุบันยังไม่เปิดให้บริการ
  • สาย 20 (สายสีแดง) ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาอุดรธานี - ท่าอากาศยานอุดรธานี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2562[12]
  • สาย 21 (สายสีน้ำเงิน) สี่แยกตลาดรังษิณา - สี่แยกบ้านจั่น เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2562[12]

โดยเก็บอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

จังหวัดนนทบุรี

นายภาณุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ได้จัดประชุมร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) เกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถโดยสารสมาร์ทบัสของจังหวัดนนทบุรีเพื่อเป็นระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) ให้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยสายแรกที่เปิดให้บริการ คือสาย 6028 วงกลมราชพฤกษ์-ติวานนท์ เชื่อมต่อกับสถานีบางพลู สถานีบางรักใหญ่ สถานีบางรักน้อย-ท่าอิฐ และสถานีกระทรวงสาธารณสุข ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2562 เก็บค่าโดยสาร 24 บาทตลอดสาย และสามารถใช้บัตรแรบบิทในการชำระค่าโดยสารได้[13]

ในอนาคต บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) มีแผนที่จะเปิดให้บริการรถสายอื่นอีก 6 สาย ได้แก่[14]

  • สาย R1 บางใหญ่ - นครอินทร์ - พิบูลสงคราม
  • สาย R2 วงกลมบางใหญ่ - บางบัวทอง
  • สาย R3 บางพลู - การไฟฟ้าบางใหญ่ - พระนั่งเกล้า
  • สาย R4 ราชพฤกษ์ - รัตนาธิเบศร์
  • สาย R5 ท่าน้ำนนทบุรี - พระนั่งเกล้า
  • สาย R6 วงกลมพระนั่งเกล้า - สนามบินน้ำ - แคราย

(ปัจจุบันรถโดยสาร RTC นนทบุรีงดให้บริการชั่วคราว)

บริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ให้บริการสาย 356 และ ต.356 ให้บริการในพื้นที่บางส่วนของอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

มีเส้นทางการเดินรถดังนี้

  • สาย 356 (สายสีแดง) ปากเกร็ด - สะพานใหม่ - ดอนเมือง
  • สาย 356 (สายสีเขียว) ปากเกร็ด - ดอนเมือง - สะพานใหม่
  • สาย 356 (สายสีเทา) นนทบุรี - หลักสี่ - แยกลำลูกกา (ปัจจุบันยุติการให้บริการแล้ว)
  • สาย ต.356 ปากเกร็ด - ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อรถโดยสารประจำทางประเภทสองแถว[15]

  • สองแถวสีฟ้าสาย 1 (วงกลม นนทบุรี - สนามบินน้ำ)
  • รถกะป๊อมาสด้าสีฟ้า สาย 1 (ท่าน้ำนนท์ - วัดชมภูเวก)
  • สองแถวแดง สาย 3 (บางไผ่ ซอย 5 - วัดสังฆทาน - ท่าน้ำนนท์)
  • สองแถวแดง สาย 4 (วัดโบสถ์บน - ท่าน้ำนนท์)
  • สองแถวแดง สาย 5 (วัดไทร - ท่าน้ำนนท์)
  • สองแถวแดง สาย 10 (คลัสเตอร์ วิลล์ ราชพฤกษ์ - ท่าน้ำนนท์)
  • สองแถวสีน้ำเงิน หลังคาขาว สาย 1002 (บางใหญ่เก่า - ถนนท่าน้ำนนท์)
  • สองแถวสีน้ำเงิน หลังคาสีน้ำเงิน สาย 1003 (ถนนท่าน้ำนนท์ - บางบัวทอง)
  • สองแถวสีน้ำเงิน หลังคาสีน้ำเงิน สาย 1003 (ถนนท่าน้ำนนท์ - บางกรวย)
  • สองแถวเขียว พระคุณพ่อแม่ สาย 1010 (สี่แยกบางสีทอง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)
  • สองแถวฟ้าขาว 1024ก "หลังคาสีขาว" (บางบัวทอง - นครอินทร์)
  • สองแถวฟ้าขาว 1024ข "หลังคาสีฟ้า" (บางบัวทอง - พระราม 5)
  • สองแถวฟ้าสาย 1053 (นนทบุรี - วัดสาลีโข)
  • สองแถวฟ้า หลังคาหน้าผากแดง สาย 1102 (เข้าซอยเรวดี - วัดปากน้ำ)
  • สองแถวแดง สาย 1416 (วัดชลอ - จรัญสนิทวงศ์ 65)
  • สองแถวสีส้ม สาย 6162 (วัดชลอ - ท่าน้ำนนท์)
  • สองแถวสีกรมท่า สาย 17002 (ซอยประชาราษฎร์ 26 แยก 1 - เซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์ - ซอยประชาราษฎร์ 26 แยก 1)
  • สองแถวแดง สาย 17004 (ท่าน้ำบางศรีเมือง - วัดประชารังสรรค์)

จังหวัดอุบลราชธานี

บริษัท อุบลรวมใจพัฒนาเมือง จำกัด ได้เปิดเดินรถขนส่งมวลชนเมืองอุบลราชธานี Ubon Smart Bus (รถบัสโดยประจำทางสายที่ 15) เพื่อพัฒนาสู่การเป็น Smart Mobility ของจังหวัดอุบลราชธานี ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี - ทุ่งศรีเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารเฉลิมพระเกียรติฯ (จำนวน 1 เส้นทาง) โดยนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการและบริการ เช่น Free Wifi, GPS, Wheelchair, CCTV, USB Charger และ E-wallet โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 โดยเก็บอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

จังหวัดระยอง

บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด วางแผนจัดหารถโดยสารประจำทางมาวิ่งรองรับผู้โดยสารจากสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภาของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับศูนย์เศรษฐกิจใหม่ 7 แห่งในเมืองระยอง โดยมีเส้นทางนำร่องระยะทาง 15 กิโลเมตร[16]

จังหวัดสมุทรปราการ

ข้อมูลจากสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการ ระบุว่ามีบริษัทผู้ประกอบอยู่ 23 บริษัท[17] หมวด 1 มี 7 เส้นทาง มีจำนวนรถในบัญชี 147 คัน และหมวด 4 มี 34 เส้นทาง มีจำนวนรถในบัญชี 1,921 คัน[18]

หมวด 1
  • 1 วงกลมอำเภอบางพลี –หมู่บ้านลิขิต 7
  • 1 วงกลม (วนซ้าย) อำเภอบางบ่อ - โรงเรียนวัดบางบ่อ (ย้อนกลับเส้นทางเดิม)
  • 2 ปากน้ำ – หาดอมรา
  • 5 ปากน้ำ – บ้านพร้อมมิตร
  • 6 ปากน้ำ – หลังหมู่บ้านทิพวัล
  • 7 ปากน้ำ – ซอยเจริญทรัพย์
  • 8 ปากน้ำ – ซอยสมาคมฟอกหนัง (กม.30)
หมวด 3
  • 343 ชลบุรี – บ้านคลองด่าน
  • 344 ฉะเชิงเทรา – คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต
  • 365 ปากน้ำ – โรงไฟฟ้าบางปะกง
หมวด 4
  • 1011 พระประแดง – บางกอบัว
  • 1012 วัดครุใน – คลองนา
  • 1140 สำโรง – คลองด่าน
  • 1141 ปากน้ำ – มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา
  • 1142 สำโรง – บ้านตาเจี่ย (ฝั่งถนนสุขุมวิท)
  • 1144 ท่าน้ำปู่เจ้าสมิงพราย – สำโรง
  • 1145 บางนา – บางบ่อ
  • 1146 ท่าน้ำพระประแดง – ท่าน้ำพระสมุทรเจดีย์
  • 1196 ปากน้ำ - กม.4 ศรีเอี่ยม (ถ.บางนา-ตราด)
  • 1197 บางพลี – ตลาดหัวตะเข้
  • 1198 บางบ่อ – บ้านคลองสวน (อำเภอบางบ่อ)
  • 1199 ถนนบางนาตราด (กิโลเมตรที่ 23) – วัดเสาธงกลาง
  • 1200 วัดบางหัวเสือ – ตลาดสำโรง
  • 1204 ปากซอยวัดใหญ่ (ด้านถนนสุขสวัสดิ์) – วัดแหลมฟ้าผ่า
  • 1205 วงกลม ถนนกิ่งแก้ว – ถนนบางนาตราด
  • 1206 เคหะบางพลี – โรงเรียนละมูลรอดศิริ
  • 1208 คลองด่าน – บางพลีน้อย
  • 1209 สำโรง - ซอยเทศบาล 17 (นารถสุนทร)
  • 1217 สุขุมวิท – บางนาตราด กม.13
  • 1221 โรงพยาบาลบางบ่อ – โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
  • 1236 สุขุมวิท – โรงเรียนคลองกระทุ่มราษฏร์อุทิศ
  • 1237 โรงจักรพระนครใต้ – สำโรง
  • 1239 สมุทรปราการ – องค์การแก้ว
  • 1241 เคหะเมืองใหม่บางพลี - ปากทางแยกลาดกระบัง – เทพราช
  • 1267 ซอยวัดแหลมฟ้าผ่า – ท่าเรือพระสมุทรเจดีย์
  • 1275 ปากน้ำ – บางพลี
  • 1281 สุขุมวิท(สำโรง) – ซอยวัดมหาวงษ์
  • 1285 บางบ่อ (ด้าน ถ.บางนา-ตราด กม.27) – คลองด่าน
  • 1286 สมุทรปราการ – ท่าน้ำพระประแดง
  • 1288 ซอยสุขสวัสดิ์ 74 – ถนนสุขาภิบาล 2
  • 1289 สุขสวัสดิ์ 76 – สุขสวัสดิ์ 78
  • 1290 สาขลา (นาเกลือ) – ท่าเรือพระสมุทรเจดีย์
  • 1291 ท่าน้ำพระประแดง - ถนนเทศบาลสำโรงใต้ 21 (ซอยวัดบางหญ้าแพรก)
  • 6008 ปากน้ำ – คลองเก้า
ไม่ได้อยู่ในทะเบียน
  • 1292 หัวตะเข้ – ม.หัวเฉียว

จังหวัดสมุทรสาคร

ต่อไปนี้คือเส้นทางรถประจำทาง เฉพาะหมวด 1 และ 4[19]

หมวด 1
  • 1 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร – บางปลา - สามแยกพัฒนา
  • 2 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร – วัดบ้านขอม
  • 3 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร – คลองท่อ
  • 5 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร – โรงแก๊ส
  • 6 วงกลมสมุทรสาคร – คลองบางหญ้า
  • 7 วงกลมเคหะชุมชนมหาชัย – ตลาดทะเลไทย
  • 8 รอบเมือง ก.
หมวด 4
  • 1169 สมุทรสาคร – บางโทรัด
  • 6011 รพ.กระทุ่มแบน – รพ.ศรีวิชัย 3
  • 6013 สมุทรสาคร – บ้านหัวโพง
  • 6016 บ้านแพ้ว – วัดประสาทสิทธิ์
  • 6017 บ้านแพ้ว – วัดหนองสองห้อง
  • 6026 สมุทรสาคร – วัดเจ็ดริ้ว
  • 6027 ปากทางสาย 4 (ถนนเพชรเกษม) – วัดหนองแขม
  • 6033 วงกลมกระทุ่มแบน – ปากทางสาย 4 (ถนนเพชรเกษม)
  • 6034 วงกลมกระทุ่มแบน – ปากทางสาย 4 (ถนนเพชรเกษม)
  • 6035 สมุทรสาคร – หมู่บ้านสินสมบูรณ์
  • 6059 สายมหาชัย – ท่าทราย
  • 6108 สมุทรสาคร – สามแยกวัดบางปลา
  • 6109 สมุทรสาคร – สามแยกวัดบางปลา
  • 8179 สมุทรสาคร – บ้านแพ้ว
  • 8183 สมุทรสาคร – ตลาดปิ่นทอง
  • 8185 สมุทรสาคร – วัดสุวรรณรัตนาราม
  • 8188 สมุทรสาคร - หลักสี่
  • 8221 สมุทรสาคร – วัดปัจจันตาราม
  • 8222 สมุทรสาคร – ประตูน้ำบางยาง – บ้านเกษตรพัฒนา
  • 8246 สมุทรสาคร – วัดกระซ้าขาว
  • 8250 สมุทรสาคร – ดอนไก่ดี
  • 8257 สมุทรสาคร – วัดหนองสองห้อง
  • 8275 กระทุ่มแบน – หนองแขม
  • 8276 สมุทรสาคร – นิคมสหกรณ์บ้านไร่
  • 8277 กระทุ่มแบน – บ้านแพ้ว
  • 8281 สมุทรสาคร – ชัยมงคล
  • 8287 กระทุ่มแบน – สวนหลวง – หมู่บ้านหรรษา (อ้อมน้อย)
  • 8288 โรงพยาบาลกระทุ่มแบน – สุขาภิบาล 1
  • 8295 กระทุ่มแบน - สมุทรสาคร
  • 8325 สมุทรสาคร – บ้านโกรกกรากใน
  • 8327 สมุทรสาคร – แคราย - โรงเรียนบ้านบางน้ำจืด
  • 8328 สมุทรสาคร – การเคหะแห่งชาติธนบุรี (มีหลายช่วงการเดินรถ)
  • 8342 กระทุ่มแบน – เกษตรพัฒนา
  • 8343 วงกลมโรงพยาบาลกระทุ่มแบน - วัดใหม่คลองมะเดื่อ
  • 8375 กระทุ่มแบน – บ้านสวนหลวง – วัดหนองแขม
  • 8376 บ้านแพ้ว - วัดศรีเพชรพัฒนา
  • 8387 สมุทรสาคร – บางกระเจ้า
  • 8388 สมุทรสาคร – คลองซื่อ
  • 8389 วงกลมกระทุ่มแบน – วัดหนองนกไข่
  • 6055 กระทุ่มแบน – ท่าเรืออ่างทอง
  • 6056 บ้านแพ้ว - วัดหนองนกไข่
  • 6057 กระทุ่มแบน – วัดพันธุวงษ์
  • 6058 กระทุ่มแบน - ศาลเจ้าตึก
  • 6060 กระทุ่มแบน – ประตูน้ำบางยาง

จังหวัดฉะเชิงเทรา

มีรถประจำทางที่ให้บริการโดย บริษัท ชุมพลรุ่งเรือง จำกัด ให้บริการในพื้นที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โดยสายที่ให้บริการ มีจำนวน 3 สาย[20] ประกอบด้วย

  • สาย 2 ตลาดทรัพย์สิน - วัดผาณิตาราม **ปัจจุบันวิ่งเฉพาะเช้า-เย็น
  • สาย 5 สถานีขนส่ง - ตลาดทรัพย์สิน
  • สาย 6 สถานีขนส่ง - ตะวันออกคอมเพล็กซ์

นอกจากนี้ทางบริษัทได้ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ในการนำเครื่อง EDC แบบพกพา ให้พนักงานเก็บค่าโดยสารใช้งาน เพื่อรองรับการชำระค่าโดยสารแบบไร้เงินสด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ตามโครงการฉะเชิงเทรา Smart City - Smart Mobility" ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือยกระดับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดฉะเชิงเทราสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อพัฒนาระบบรับชำระค่าโดยสารแบบไร้เงินสด[21] โดยผู้โดยสารสามารถชำระค่าโดยสาร โดยการแตะบัตรเดบิตหรือเครดิตแบบ contactless (paywave)​ หรือการสแกน QR CODE ของแอปธนาคารใดก็ได้ สำหรับผู้โดยสารที่ไม่สะดวกในการชำระค่าโดยสารในแบบดังกล่าว สามารถจ่ายเงินสดกับพนักงานได้ตามปกติ

รถสองแถวภายในจังหวัดแบ่งเป็นสี ได้แก่[22]

  • รถสองแถวสีเหลือง สถานีขนส่งใหม่ – วัดหลวงพ่อโสธร
  • รถสองแถวสีขาวคาดเหลือง (สาย 8) สถานีขนส่งใหม่ – วัดสายชล
  • รถสองแถวสีขาว (สาย 7) สถานีขนส่งใหม่ – คลองขุดใหม่
  • รถสองแถวสีน้ำเงิน วัดหลวงพ่อโสธร – วัดแหลมใต้
  • รถสองแถวสีส้มแดง (สาย 1614) สถานีขนส่งใหม่ – บางคล้า
  • รถสองแถวสีฟ้าแถบขาว สถานีขนส่งใหม่ – บางปะกง – เกาะไร่
  • รถสองแถวสีส้มแถบเหลือง (สาย 1618) สถานีขนส่งใหม่ – บางปะกง (ตลาดล่าง)
  • รถสองแถวสีขาวแถบน้ำเงิน สถานีขนส่งใหม่ – วัดสมานรัตนาราม
  • รถสองแถวสีเขียว สถานีขนส่งใหม่ – บางน้ำเปรี้ยว – คลองหกวา

จังหวัดสระบุรี

สำนักงานขนส่งจังหวัดสระบุรี ร่วมกับ บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด (SBCD) และพันธมิตรหลายภาคส่วน ได้จัดทำการศึกษาความเหมาะสมและทดลองเส้นทางเดินรถ ตามโครงการ Saraburi Smart Bus[23]

โดยจะมีการทดลองเดินรถโดยสาร 2 เส้นทาง ได้แก่

  • รถสองแถว สาย 9 สถานีขนส่งสระบุรี - ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี
  • มินิบัส สาย 10 (วงกลม) สถานีขนส่งสระบุรี - ศาลจังหวัดสระบุรี

โดยได้เริ่มเดินรถวันที่ 29 เมษายน 2562 ต่อมาปรากฎว่าเส้นทางสาย 9 มีผู้ใช้บริการน้อยมาก จึงได้ยุติการทดลองเดินรถไป คงเหลือแค่สาย 10 เพียงสายเดียว และเมื่อการทดลองเดินรถสาย 10 ผ่านไปสักระยะหนึ่ง และได้ผลตอบรับที่ดี สำนักงานขนส่งจังหวัดสระบุรี จึงได้มีการยื่นขอกำหนดเส้นทางในสัมปทานอย่างเป็นทางการ และเปลี่ยนมาใช้เลขสาย 9 แทน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563[24]

ใกล้เคียง

รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถโดยสารประจำทางสาย 8 รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ รถโดยสารสองชั้น รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางในฮานอย รถโดยสารประจำทางนครพนมเปญ รถโดยสารประจำทางด่วน

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย http://ilove8riew.com/travel/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0... http://www.kstbus.com/5.asp?xFields=1&companyid=1&... http://www.thansettakij.com/content/293970 http://www.topchiangrai.com/crbus/ https://udontoday.co/review-today-udoncitybus/ https://hobbymapper.blogspot.com/2019/11/songthaew... https://m.facebook.com/nt/screen/?params=%7B%22not... https://www.facebook.com/bangkokbusclubpage/photos... https://www.facebook.com/bangkokbusclubpage/photos... https://www.facebook.com/bangkokbusclubpage/photos...