รถไฟฟ้ากรุงเทพ

บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: BANGKOK METRO PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ: BMCL) [1] บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดยมีกลุ่มบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อเข้าร่วมประมูลสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินรายแรกของประเทศไทย ในฐานะผู้ออกแบบ, ผลิต, จัดหา, ติดตั้ง, ทดสอบ และใช้งานอุปกรณ์งานระบบ เพื่อดำเนินการ และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า โดยบริษัทได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2543 และวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ตามลำดับให้เป็นผู้ได้รับสัมปทานดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวบริษัทเป็นผู้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในการเป็นผู้ออกแบบ, ผลิต, จัดหา, ติดตั้ง, ทดสอบ และใช้งานอุปกรณ์งานระบบ เพื่อดำเนินการ และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นระยะเวลา 25 ปี นับแต่วันที่รฟม.ออกหนังสือไม่คัดค้านการเริ่มให้บริการที่ก่อให้เกิดรายได้ คือวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และได้เปิดให้บริการเดินรถอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 บริษัทมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดเก็บรายได้ค่าโดยสารรวมทั้งการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงการโฆษณาและการให้เช่าพื้นที่ภายในสถานีและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่ชั้นใต้ดินของอาคารจอดแล้วจรที่สถานีลาดพร้าว ตลอดอายุของสัมปทาน 25 ปี ทั้งนี้ ภายใต้สัญญาดังกล่าวบริษัทมีภาระผูกพันต้องจ่ายเงินตอบแทนให้แก่รฟม. ตามอัตราที่ระบุในสัญญาตลอดระยะเวลาดังกล่าว[2]วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) ควบรวมกิจการกับ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ในชื่อใหม่ว่า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม (BEM) โดยมีการจดทะเบียนบริษัทใหม่ต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 [3] และเริ่มทำการซื้อขายหุ้นในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

รถไฟฟ้ากรุงเทพ

อุตสาหกรรม บริการ
เว็บไซต์ http://www.bangkokmetro.co.th
รูปแบบ บริษัทมหาชน (SET:BMCL)
ประเภท ขนส่งและโลจิสติกส์
ถัดไป ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
บุคลากรหลัก ปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริษัท
สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ
ก่อตั้ง 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล