ภูมิหลัง ของ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่

แนวคิดเรื่องการมีรถไฟฟ้าในเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ต่อเนื่องนั้น เป็นสิ่งที่พูดถึงอย่างจริงจังในการศึกษาเพื่อจัดทำระบบขนส่งมวลชนสาธารณะสำหรับเมืองเชียงใหม่  ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้ว 4 ครั้ง[3]  ได้แก่

  1. ปี พ.ศ. 2537  ดำเนินการโดยการทางพิเศษ  มีการนำเสนอถึงการนำรถไฟฟ้าใต้ดินมาใช้  และได้ดำเนินการถึงขั้นมีการออกแบบในรายละเอียด แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดการปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบของการทางพิเศษขึ้น  โดยมีการจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร  หรือ รฟม. ขึ้นมารับผิดชอบงานด้านรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งในเวลานั้นทาง รฟม. ได้มุ่งให้ความสำคัญในการจัดสร้างระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครเป็นหลัก จึงทำให้ไม่ได้สานต่อโครงการนี้
  2. ปี พ.ศ. 2548  ดำเนินการโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร  หรือ สนข. มีการดำเนินการถึงขั้นออกแบบในรายละเอียดของระบบรถไฟฟ้าสำหรับเมืองเชียงใหม่  แต่หลังจากทำการศึกษาเสร็จสิ้นก็เกิดการรัฐประหาร  มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลในหลายๆ ด้าน  ทำให้โครงการนี้ไม่ได้รับการผลักดันต่อ
  3. ปี พ.ศ. 2557  ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)  มีการยกระบบรถไฟฟ้าขึ้นเป็นหนึ่งในตัวเลือก  แต่การดำเนินการยังไม่ได้คืบหน้ามากนัก  และยุติลงหลังจากกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ สนข. ศึกษาเพื่อจัดทำระบบขนส่งมวลชนสาธารณะสำหรับเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559
  4. ปี พ.ศ. 2559  ดำเนินการโดย สนข.  ซึ่งได้นำเสนอแผนแม่บท ประกอบด้วยรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail Transit (LRT) 3 เส้นทาง และระบบ Feeder ที่เป็นรถเมล์โดยสารสาธารณะ 14 เส้นทาง มีระยะทางรวมประมาณ 210 กม. โดยคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ได้มีมติให้ รฟม. ดำเนินการออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อก่อสร้างต่อไป

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล