โครงการรถไฟฟ้ามหานครที่กำลังก่อสร้าง ของ รถไฟฟ้ามหานคร

เส้นทางกำหนดเปิดให้บริการสถานีปลายทางระยะทาง (กิโลเมตร)จำนวนสถานี
 สายสุขุมวิท 
(พหลโยธิน)
(รถไฟรางหนัก)
2563สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(จตุจักร)
สถานีคูคต
(อ.ลำลูกกา)
14 กิโลเมตร (8.7 ไมล์)11
 สายสีชมพู 
(รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
2564สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
(อ.เมืองนนทบุรี)
สถานีมีนบุรี
(มีนบุรี)
34.5 กิโลเมตร (21.4 ไมล์)30
 สายสีเหลือง 
(รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
2564สถานีลาดพร้าว
(จตุจักร)
สถานีสำโรง
(อ.เมืองสมุทรปราการ)
30 กิโลเมตร (19 ไมล์)23
 สายสีส้ม 
(รถไฟรางหนัก)
2566สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
(ห้วยขวาง)
สถานีสุวินทวงศ์
(มีนบุรี)
23 กิโลเมตร (14 ไมล์)17

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (ย่านบางปิ้ง) ตามแนวถนนสุขุมวิทใน จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 17 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ระยะทาง 18 กิโลเมตร ทั้งหมดเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับผิดชอบโครงการนี้แทนกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2552 เนื่องจากเส้นทางในหลายจุดเหลื่อมล้ำไปยังเขตปริมณฑลซึ่งอยู่นอกเหนือพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน โครงการช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และโครงการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2562 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเฉพาะสถานีแรก (ห้าแยกลาดพร้าว) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อย่างไรก็ตาม โครงการยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่องการชำระหนี้สินและการดำเนินการในอนาคต ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและระบบรถไฟฟ้าตำแหน่งละ 1 คน เพื่อดำเนินการเจรจาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์จากค่าโดยสาร และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยผลการเจรจาเบื้องต้นเป็นการขยายสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 40 ปี โดยผู้รับสัมปทานจะต้องรับภาระค่าก่อสร้างทั้งหมดของโครงการแทน และกรุงเทพมหานครจะใช้คืนให้เป็นรายปี เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

ดูบทความหลักที่: รถไฟฟ้าสายสีชมพู

เป็นโครงการระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวช่วงแคราย-มีนบุรี ยกระดับบนถนนติวานนท์, แจ้งวัฒนะ และรามอินทรา ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานครกับ จ.นนทบุรี และชานเมืองด้านทิศตะวันออกที่เขตมีนบุรี รวมทั้งเป็นระบบขนส่งมวลชนที่จะรองรับประชาชนที่จะมาติดต่อกับหน่วยงานราชการภายใน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ บนถนนแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ดูบทความหลักที่: รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

เป็นโครงการระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวช่วงลาดพร้าว- สำโรง ตามแนวถนนลาดพร้าว และศรีนครินทร์ ผ่านทางแยกพัฒนาการ, ทางแยกสวนหลวง, ทางแยกศรีอุดม, ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม จนถึงทางแยกศรีเทพา จากนั้นจะเลี้ยวไปตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางบริเวณสถานีสำโรง โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทางรวมประมาณ 30.4 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

ดูบทความหลักที่: รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์ ในแนวเส้นทางทิศตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพมหานครจากเขตมีนบุรี บริเวณแยกถนนสุวินทวงศ์เข้าสู่ใจกลางเมือง ผ่าน บางกะปิ, ห้วยขวาง, ดินแดง, ราชปรารภ, ประตูน้ำ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังโรงพยาบาลศิริราช สิ้นสุดเส้นทางที่บางขุนนนท์ เส้นทางเกือบทั้งหมดเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2563 และสามารถเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2568[2]

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้า มาหานะเธอ