ความคืบหน้า ของ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

  • สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการขอเชิญเข้าร่วมการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การออกแบบเบื้องต้นโครงการ แนวเส้นทาง รูปแบบและองค์ประกอบของโครงการรวมทั้งมาตรการในการจัดการกับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งจะนำไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงเพิ่มเติมข้อเสนอแนะมาตรการในการจัดการกับผลกระทบ ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับปรุงผลการศึกษาความเหมาะสม และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงรูปแบบเบื้องต้นของโครงการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องคอนเวนชั่น ชั้น 4 อาคารคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร[1]
  • 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเผยว่าจากการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 ได้ข้อสรุปให้มีการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ไปพร้อม ๆ กัน โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินงาน และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N2 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนนงาน และให้มีการประมูลโครงการแยกขาดจากกันแต่ช่วงที่ใช้โครงสร้างร่วมกันให้ดำเนินการพร้อมกันไปพลางก่อน ทั้งนี้การประมูลโครงการทั้งสองโครงการได้พิจารณาให้เป็นรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แต่ยังไม่สรุปว่าให้เป็นรูปแบบ Netcost หรือ Grosscost[2]
  • 10 มกราคม พ.ศ. 2562 - นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล หลังจากที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบในผลการศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการว่า รฟม. เตรียมยื่นรายงานการศึกษาเพื่อขออนุมัติการดำเนินโครงการกับคณะรัฐมนตรี โดยหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ก็จะส่งแผนการศึกษากลับไปให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ รฟม. ก็จะจัดทำรายงานการร่วมทุนกับเอกชนเพื่อนำเสนอบอร์ดพีพีพีแบบคู่ขนานกันไป โครงการมีวงเงินการลงทุนประมาณ 48,000 ล้านบาท รูปแบบการลงทุนเป็น PPP-Netcost แบบเดียวกับสายสีชมพูและสายสีเหลืองที่รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนและรับผิดชอบในการจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนเป็นผู้ลงทุนและรับผิดชอบในงานก่อสร้างโยธา ตลอดจนการจัดหาระบบรถไฟฟ้า เดินรถไฟฟ้า ดูแลรักษาระบบรถไฟฟ้า และรับผลประโยชน์จากค่าโดยสารต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของโครงสร้างที่ใช้งานร่วมกันกับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N2 รฟม. จะขอให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นผู้ดำเนินงานในส่วนฐานรากและต่อม่อรถไฟฟ้าไปพลางก่อน จากนั้นเมื่อได้เอกชนก็จะขอให้เอกชนเป็นผู้ชำระคืนให้แก่ กทพ. ต่อไป โดย รฟม. คาดว่าจะเปิดประมูลโครงการได้เร็วที่สุดภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้[3]

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล