รายละเอียดปลีกย่อย ของ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

  • เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ
  • มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อคัน (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) ต่อพวงได้ 2-8 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 24,100 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

เดิมโครงการมีการศึกษาศูนย์ซ่อมบำรุงไว้ที่บริเวณจุดตัดทางพิเศษฉลองรัชแต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวกรุงเทพมหานครจะเวนคืนเพื่อก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา โครงการจึงมีแนวคิดย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงไปอยู่พื้นที่บริเวณใกล้ ๆ กัน หรือย้ายไปบริเวณแยกบางกะปิซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีแยกลำสาลี

เบื้องต้นศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการจะมีพื้นที่ทั้งหมด 44 ไร่ ประกอบไปด้วยอาคารโรงจอด ศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารเปลี่ยนล้อ ส่วนควบคุมระบบจัดการเดินรถ และสำนักงานบริหารจัดการโครงการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) บริเวณถนนเสรีไทยใกล้สถานีลำสาลีของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม จอดรถได้ประมาณ 2,000 คัน

สถานีโครงสร้างปกติ
สถานีโครงสร้างใต้ทางด่วน

สถานี

มีทั้งหมด 20 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

รูปแบบสถานี

โครงการออกแบบรูปแบบสถานีไว้ทั้งหมดสองรูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • สถานีโครงสร้างปกติ สถานีมีความยาวประมาณ 150 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ทุกสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใช้ชานชาลา มีจำนวน 10 สถานี
  • สถานีโครงสร้างใต้ทางด่วน สถานีมีความยาวประมาณ 150 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ทุกสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดิน บนดิน และทางด่วน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N2 จุดจำหน่ายบัตรโดยสารจะอยู่ในบริเวณอาคารทางเข้าสถานี ซึ่งจะแยกฝั่งไปนนทบุรีกับฝั่งลำสาลีขาดกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้โครงการศึกษาให้มีการก่อสร้างสะพานคนข้ามในทุกสถานี หรืออาจมีการก่อสร้างทางเดินเชื่อมฝั่งในทุกสถานีเพื่ออำนวยความสะดวกในการข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง มีจำนวน 10 สถานี

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล