ความคืบหน้า ของ รถไฟฟ้าสายสีเงิน

  • 9 เมษายน พ.ศ. 2561 - นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยแผนการจัดทำร่างแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องระยะที่ 2 (M-Map Phase 2) โดย สนข. ได้ยกเส้นทางสายนี้เข้าเป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องเพื่อพัฒนาเป็นแผนแม่บทต่อไป
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยแผนการจัดทำร่างแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องระยะที่ 2 (M-Map Phase 2) ร่วมกับทางไจก้า โดยทางไจก้าเสนอให้ต่อขยายเส้นทายสายนี้เพิ่มเติมจากบริเวณแยกสรรพาวุธไปยังสถานีแม่น้ำ ถนนพระรามที่ 3 เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากย่านสมุทรปราการเข้าสู่สถานีแม่น้ำที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร โดยให้แนวทางพาดผ่านพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึง พร้อมกับพิจารณาตัดเส้นทางส่วนธนาซิตี้-วัดศรีวารีน้อยออกเพื่อลดระยะทาง และยกระดับโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางหนักเพื่อลดภาระของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่จะเปลี่ยนเป็นรถไฟความเร็วสูงแทน
  • 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - กรุงเทพมหานครเปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการฯ ว่าปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) แต่เพื่อให้โครงการเดินหน้าโดยเร็ว กรุงเทพมหานครได้จัดทำเอกสารร่างขอบเขตงานเพื่อให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP-Netcost Model) ระยะเวลาสัญญา 30 ปีควบคู่ไปด้วย ซึ่งรายละเอียดเบื้องต้นได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจร (คจร.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งมีนโยบายให้ใช้วิธีการเวนคืนที่ดินสำหรับก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการบริเวณโครงการธนาซิตี้จาก บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) แทนการรับการสนับสนุนจากกลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป เนื่องจากเกรงว่าเอกชนที่ได้งานจะเป็นคนละรายกัน
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2561 นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ภายในปี 2561 กรุงเทพมหานครจะพยายามผลักดันเร่งรัดให้เกิดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ให้ได้ โดยให้สำนักการจราจรและขนส่ง ติดตามผลการจัดทำรายงานผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของรถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ ในขณะที่สายสีเทา ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานครจะไปหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เนื่องจากจำเป็นต้องขอใช้พื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยบางส่วนในการก่อสร้างโครงการ[1]
  • 16 กันยายน พ.ศ. 2562 พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพเร่งผลักดันให้เริ่มนโยบายสายสีเทา ช่วงระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ รวมถึงระยะที่ 3 นราธิวาส-พระราม 3 อยู่ในขั้นตอนจ้างที่ปรึกษาดูรายละเอียดใหม่ทั้งหมด เพราะต้องปรับรายละเอียดให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และไลท์เรลสายบางนา-สุววรณภูมิ ในต้นปี 2563 โดยไลท์เรลสายบางนา-สุวรรณภูมิ ปัจจุบันกทม.ประสานขอใช้พื้นที่กับกรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวงเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากจะต้องสร้างบนถนนบางนา-ตราด ซึ่ง กทม.จะเร่งดำเนินการเปิดร่วมทุน PPP [2]
  • สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัด การประชุมสัมมนาปฐมนิเทศน์โครงการ และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบรถไฟรางคู่ขนาดเบา (LRT) สายบางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 ผ่านแอปพลิเคชันซูม ซึ่งโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษาอีก 6 เดือน การศึกษาจะแล้วเสร็จพร้อมนำเสนอต่อคณะกรรมการพีพีพีในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 คาดว่าจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการได้ในปีเดียวกัน
  • 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร กล่าวว่าปัจจุบันมีความพร้อมในการดำเนินสูง คาดว่าสามารถสรุปผลการศึกษาที่เหมาะสมภายในต้นปี 2565 และอนุมัติโครงการภายในปี 2566 และเปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลในปี 2567 ใช้เวลา 4 ปี (2568-2571) คาดการณ์จะเปิดให้บริการปี 2572[3]

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม