รถไฟฟ้าสายสีเงิน

รถไฟฟ้าสายสีเงิน (บางนา - บางโฉลง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) หรือ โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร, บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามแนวถนนเทพรัตน อันเป็นทางหลวงแผ่นดินที่จะมุ่งหน้าไปยังภาคตะวันออกเส้นทางดังกล่าวปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 (แผนแม่บท MTMP) ก่อนถูกปรับปรุงให้เป็นแผนแม่บทเพื่อนำไปสู่การดำเนินการจริงใน พ.ศ. 2539 (แผนแม่บท CTMP) โดยถูกกำหนดให้เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าธนายง ตอน 1 แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อครั้งการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง พ.ศ. 2543 (แผนแม่บท URMAP) ต่อมาในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 คจร. มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 เพื่อให้โครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมและสอดคล้องกับการขยายตัวของเมือง กรุงเทพมหานครจึงได้นำเส้นทางดังกล่าวกลับเข้าสู่การพิจารณา ก่อนลดระยะทางให้สิ้นสุดที่บริเวณแยกศรีเอี่ยม (ทางแยกต่างระดับระหว่างถนนบางนา-ตราด และถนนศรีนครินทร์) และได้ปรับปรุงเส้นทางอีกครั้งให้ต่อขยายไปสิ้นสุดที่บริเวณอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทเดิมในเวลาต่อมาปัจจุบัน โครงการอยู่ในระหว่างการยื่นขอผลวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เพื่อเริ่มดำเนินโครงการ โดยกรุงเทพมหานครคาดหวังไว้ว่าจะสามารถเปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาดำเนินการได้ใน พ.ศ. 2565–2566 และคาดว่าจะเปิดใช้งานจริงได้ภายใน พ.ศ. 2572

รถไฟฟ้าสายสีเงิน

ขบวนรถ ยังไม่เปิดเผย
รูปแบบ รถไฟฟ้ารางเบายกระดับ
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง

 สุขุมวิท  อุดมสุข – แบริ่ง
บางนา
ประภามนตรี
เทพรัตน 17
เทพรัตน 25
 สายสีเหลือง  ศรีอุดม – ศรีเอี่ยม
ศรีเอี่ยม
ปรมฤทัย
เทพรัตน กม.6
บางแก้ว
กาญจนาภิเษก
วัดสลุด
กิ่งแก้ว
ธนาซิตี้
มหาวิทยาลัยเกริก
สุวรรณภูมิ อาคารใต้
สนามบินสุวรรณภูมิ
 สุวรรณภูมิ  ลาดกระบัง
 เอราวัน  ลาดกระบัง – ฉะเชิงเทรา
แผนภาพนี้:
จำนวนสถานี 14 สถานี
เจ้าของ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
จังหวัดสมุทรปราการ
ระบบ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
สถานะ อยู่ระหว่างการขอ EIA
ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เปิดเมื่อ (คาดการณ์ 2572)
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ
รางกว้าง 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระยะทาง 24 km (14.91 mi)
ปลายทาง บางนา
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จำนวนทางวิ่ง 2
ศูนย์ซ่อมบำรุง ศูนย์ซ่อมบำรุงธนาซิตี้
ผู้ดำเนินงาน รอเอกชนร่วมประมูล

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล