ผลงานในช่วงหลัง ของ รอย_ลิกเทนสไตน์

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ลิกเทนสไตน์ได้ผลิตซ้ำผลงานชิ้นเอกของปอล เซซาน, ปีต โมนดรียาน และปาโบล ปีกัสโซ ก่อนที่จะเริ่มสร้างผลงานชุดลายฝีแปรงขึ้นใน ค.ศ. 1965 ลิกเทนสไตน์ กลับมาใช้เทคนิคนี้อีกครั้งภายหลังจากผลงาน Bedroom at Arles ที่ได้รับมาจากผลงานชื่อเดียวกันกับของฟินเซนต์ ฟัน โคค ใน ค.ศ. 1970 ลิกเทนสไตน์ถูกว่าจ้างโดย the Los Angeles County Museum of Art ให้สร้างภาพยนตร์โดยการช่วยเหลือของ Universal Film Studios โดยศิลปินได้คิดและสร้าง Three Landscapes เป็นภาพยนตร์ที่มีทิวทัศน์ของชายทะเล ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลงานชุด collages ภาพทิวทัศน์ของเขาที่สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1964 และ 1966 แม้ว่าลิกเทนสไตน์จะวางแผนที่จะผลิตภาพยนตร์สั้น 15 เรื่องและงาน installation 3 จอ ซึ่งทำร่วมกับโจเอล ฟรีดแมนผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวนิวยอร์ก ได้เปิดบริษัทร่วมทุน โดยที่ศิลปินร่วมเป็นสื่อกลาง

เช่นเดียวกันใน ค.ศ. 1970 ลิกเทนสไตน์ได้ซื้อบ้านเก่าในเซาแทมป์ตัน ลองไอแลนด์ และได้สร้างสตูดิโอขึ้น และอยู่อย่างสันโดษ ใน ค.ศ. 1970 และ 1980 แบบอย่างของเขาเริ่มคลี่คลายลง และได้ขยายตัวไปในรูปแบบที่เขาเคยทำมาก่อนหน้านี้ ลิกเทนสไตน์เริ่มงานชุด Mirrors ใน ค.ศ. 1969 และใน ค.ศ. 1970 ขณะที่เขากำลังทำงานชุด Mirrors เขาก็เริ่มทำงานที่ชื่อว่า The Entablatures ซึ่งประกอบด้วยงานจิตรกรรมชุดแรกใน ค.ศ. 1971–72 งานชุดที่สองใน ค.ศ. 1974-76 และชุดสื่อสิ่งพิมพ์ใน ค.ศ. 1976 เขาผลิตผลงานชุด Artists Studios ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมผลงานก่อนหน้านี้ของเขา ผลงานที่โดดเด่นคือ Look Mickey (1973, Walker Art Center, Minneapolis) ซึ่งเป็นการรวบรวม 5 ผลงานที่ผ่านมามาใส่ในฉากเดียว

ขณะที่กำลังเดินทางไปยังลอสแอนเจลิสใน ค.ศ. 1978 ลิกเทนสไตน์รู้สึกทึ่งกับงานสะสมภาพเขียนแนวสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันของทนายความรอเบิร์ต ริฟไคนด์ เขาเริ่มผลิตผลงานโดยหยิบยืมแบบอย่างมาจากงานสำแดงพลังอารมณ์ ผลงาน The White Tree (1980) มีลักษณะคล้ายกับภาพทิวทัศน์ของกลุ่มเบลาเออไรเทอร์ (Der Blaue Reiter) ขณะที่งาน Dr. Waldmann (1980) ก็ชวนให้นึกถึง Dr. Mayer-Hermann (1926) ของออตโต ดิกซ์ การใช้ดินสอสีเล็ก ๆ ระบายเคยถูกใช้เป็นแม่แบบในงาน woodcuts ในงานของ Emil Nolde และ Max Pechstein เช่นเดียวกันกับ ดิกซ์ และเอรินส์ ลุดวิค คิตเชอร์ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 สไตล์ของลิกเทนสไตน์ถูกแทนที่ด้วยงานแบบ เหนือจริง เช่น Pow Wow (1979, Ludwig Forum für Internationale Kunst, Aachen)

งานหลักชุดเหนือจริงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979-1981 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาวอเมริกันพื้นเมือง โดยมีที่มาจากงาน Amerind Figure (1981) เป็นประติมากรรมขนาดเท่าคนจริงที่เตือนความทรงจำ เป็นเสา totem สีดำสัมฤทธิ์ โดยเขาใช้พรมขนสัตว์เพื่อเป็นอนุสรณ์ใน Amerind Landscape (1979) เช่นเดียวกับงานชุดเหนือจริงสำหรับงานศิลปะร่วมสมัยและแหล่งอื่น ๆ รวมไปถึงหนังสือที่ออกแบบในสไตล์อเมริกัน-อินเดียนภายในห้องสมุดเล็ก ๆ ของเขา

งานจิตรกรรมแนว Still Life ของลิกเทนสไตน์ ประติมากรรมและภาพวาดที่อยู่ในช่วง 1972 จนถึงช่วงต้นทศวรรษที1980 นั้น มีหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงแบบขนบดั้งเดิมเช่น ผลไม้ ดอกไม้ และแจกัน ในงานชุด Reflection ที่สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1988 และใน ค.ศ. 1990 ลิกเทนสไตน์กลับมาใช้รูปแบบเดิม ๆ อย่างเช่นผลงานที่ผ่านมา Interiors (1991–1992) ได้ทำให้เห็นความดาษเดื่อนที่พบเห็นได้ทั่วไปของสภาพแวดล้อมที่ได้แรงบันดาลใจมากจากโฆษณาเครื่องเรือน ที่ศิลปินพบเจอในสมุดโทรศัพท์หรือป้ายโฆษณา มีการรวบรวมแรงบันดาลใจจากภาพพิมพ์สีเดียวของแอดการ์ เดอกา ปี ค.ศ. 1994 ในงานนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันในนิวยอร์ก โดยภาพทิวทัศน์ของเขาในงานชุดรูปแบบจีน ที่มีลักษณะเป็น จุดแบบBen-day และรูปทรงแม่พิมพ์ มีสีสันสดใส ภาพนู้ดเป็นอีกองค์ประกอบของการทำงานของลิกเทนสไตน์ ในช่วงทศวรรษที่ 1990 เช่น Nude with Red Shirt (1995)

นอกจากภาพวาดและประติมากรรม ลิกเทนสไตน์ยังผลิตภาพพิมพ์กว่า 300 ภาพด้วยวิธีการพิมพ์ฉลุลายผ้า (screenprinting) อีกด้วย

ศิลปะแบบป็อปอาร์ตนั้นได้เริ่มมีอิทธิพลในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 21 ลิกเทนสไตน์และแอนดี วอร์ฮอล์ ได้ใช้ศิลปะแบบนี้ในตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 ต่อมาใน ค.ศ. 1998 และ 2007 ในนิทรรศการที่ British National Portrait Gallery

ผลงานศิลปะมากมายหลายชิ้นได้ถูกทำลายจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2011 แต่ผลงาน The Entablature Series ของลิกเทนสไตน์นั้น ได้ถูกทำลายภายหลังโดยเหตุการณ์ไฟไหม้

ผลงานของเขาที่ชื่อว่า crying girl เป็นหนึ่งในผลงานที่ถูกนำมาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Night at the Museum: Battle of the Smithsonian

แหล่งที่มา

WikiPedia: รอย_ลิกเทนสไตน์ http://www.purity.co/tom-ford-on-roy-lichtenstein/ http://www.artnet.com/magazine/features/polsky/pol... http://www.artnet.com/magazine/features/polsky/pol... http://modernart2011.blogspot.com/2011/03/in-car.h... http://www.christies.com/about/press-center/releas... http://www.e-roylichtenstein.com/ http://www.rogallery.com/Lichtenstein_Roy/lichtens... http://www.theslaughterhouseclub.com/archives/1510 http://en.wahooart.com/@@/6WHLNC-Roy-Lichtenstein-... http://fiktura.wordpress.com/2010/04/01/ohhh-alrig...