กิจหน้าที่ ของ รอยนูนหน้าส่วนบน

ความรู้สึกตน

ในงานทดลองด้วย fMRI โกลด์เบอรก์และคณะ ได้พบหลักฐานว่า รอยนูนหน้าส่วนบนมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกตน (self-awareness) โดยทำงานร่วมกับระบบรับความรู้สึก (sensory system)[1][2]

การหัวเราะ

ในปี ค.ศ. 1998 ประสาทศัลย์แพทย์อิทแซก์ ฟรายด์ ได้พรรณนาถึงคนไข้หญิงวัย 16 ปี (ซึ่งเรียกกันว่า คนไข้เอเค) ผู้ที่หัวเราะเมื่อ SFG ของเธอรับการระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าเมื่อกำลังผ่านการรักษาโรคลมชัก[3] โดยที่กระแสไฟฟ้านั้นมีการประกบที่ผิวเปลือกสมองของสมองกลีบหน้า เพื่อที่จะหาจุดที่ก่อให้เกิดการชัก (แต่จุดที่ก่อให้เกิดการชักจะไม่ทำให้เกิดการหัวเราะ)

ฟรายด์ได้บ่งชี้บริเวณขนาด 2 x 2 ซ.ม. ที่ SFG ซีกซ้ายที่เมื่อมีการกระตุ้นแล้ว การหัวเราะจะติดตามมาอย่างสม่ำเสมอ เอเคแจ้งว่า การหัวเราะนั้นมีพร้อมกับความรู้สึกร่าเริง แต่แจ้งเหตุของการหัวเราะแต่ละครั้งที่ไม่เหมือนกัน โดยยกเหตุให้กับตัวกระตุ้นภายนอกที่ไม่น่าขำ ตัวอย่างเช่น การหัวเราะครั้งหนึ่งมีเหตุมาจากรูปภาพที่ให้เอเคบอกชื่อ (โดยเธอกล่าวว่า "ม้าพวกนั้นมันน่าขำ") หรือจากประโยคที่ให้เธออ่าน หรือจากบุคคลที่อยู่ในห้อง (โดยเธอกล่าวว่า "พวกคุณนี่น่าขำจริงๆ เลย ... ยืนอยู่อย่างนั้น")

การเพิ่มระดับไฟฟ้าในการกระตุ้น ปรากฏว่าเพิ่มช่วงเวลาและระดับการหัวเราะ ยกตัวอย่างเช่น ในระดับไฟฟ้าต่ำ มีการยิ้มเพียงเท่านั้น ในระดับที่สูงขึ้นไป มีการหัวเราะที่ดังขึ้น ที่ชวนให้หัวเราะตามมากยิ่งขึ้น การหัวเราะนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดกิจการงานอื่นๆ ที่อาศัยการพูดหรือการเคลื่อนไหวด้วยมือ

ใกล้เคียง

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง รอยนูนหลังร่องกลาง รอยนูนแองกูลาร์ รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส รอยนูนรูปกระสวย รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน รอยนูนหน้าส่วนบน รอยนูนซูปรามาร์จินัล รอยนูนสมองกลีบขมับตามขวาง รอยขูดขีดเขียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: รอยนูนหน้าส่วนบน http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.newscientist.com/article.ns?id=dn9019 http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... http://braininfo.rprc.washington.edu/centraldirect... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16630842 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9490408 //doi.org/10.1016%2Fj.neuron.2006.03.015 //doi.org/10.1038%2F35536 http://www.neurolex.org/wiki/birnlex_1303 https://ta2viewer.openanatomy.org/?id=5456