ประเภทของรอยโรค ของ รอยโรค

เนื่องจากคำจำกัดความของรอยโรคนั้นค่อนข้างกว้าง รอยโรคจึงมีความหลากหลายอย่างมาก โดยทั่วไปจึงจัดแบ่งตามลักษณะของมัน หากรอยโรคนั้นเกิดจากมะเร็ง จะจัดรอยโรคนั้นว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) ซึ่งตรงข้ามกับเนื้องอกไม่ร้าย (benign tumor) รอยโรคอาจจัดแบ่งได้จากรูปร่างลักาณะของมัน เช่น แผลเปื่อย (ulcers) หลายชนิด อาจมีลักษณะคล้ายจุดกลางของเป้า ก็เรียกว่า bullseye appearance หรืออาจจัดประเภทตามขนาดเช่นหากมองเห็นในระดับมหภาค (gross) คือเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือหากต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ก็เรียกว่าเป็นระดับจุลภาค (histologic)

การจัดประเภทของรอยโรคในบางครั้งอาจขึ้นกับว่ารอยโรคกินที่ว่างหรือไม่ รอยโรคเป็นแบบกินที่ (space occupying lesion) คือหมายถึงกินเนื้อที่ว่างและอาจกระทบต่อโครงสร้างข้างเคียง ในขณะที่ รอยโรคแบบไม่กินที่ (non space occupying lesion) อาจเป็นเพียงแค่ช่องในเนื้อเยื่อ เช่น บริเวณเล็กๆ ในสมองซึ่งกลายเป็นของเหลวหลังจากเกิดโรคลมปัจจุบัน (stroke)

รอยโรคบางครั้งอาจมีชื่อเฉพาะ เช่น Gohn lesions ในปอดของผู้ป่วยวัณโรค ลักษณะเฉพาะของผิวหนังของการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (varicella-zoster virus (VZV)) เรียกเฉพาะว่า อีสุกอีใส รอยโรคที่ฟันมักจะเรียงโดยทั่วไปว่าฟันผุ (dental caries)

และสุดท้าย รอยโรคมักจะแบ่งตามตำแหน่งที่เกิด ตัวอย่างเช่น รอยโรคที่ผิวหนัง (skin lesion) และ รอยโรคที่สมอง (brain lesion)