ภาพรวม ของ ระบบถ่ายภาพขั้นสูงแบบชนิดซี

เนื่องจากไม่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานอย่างเคร่งครัด จึงมีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับผู้ผลิตกล้องแต่ละรายและรุ่น ขนาดที่เล็กกว่าฟิล์ม 35 มม. ทำให้ขอบเขตการมองเห็น (มุมรับภาพ) แคบกว่า โดยคิดเป็นประมาณ 1.5 ถึง 1.7 เท่าของความยาวโฟกัสของเลนส์แบบเปลี่ยนได้ เช่น เมื่อติดเลนส์ 50 มม. จะได้ความยาวโฟกัสเทียบเท่าฟิล์ม 35 มม. เป็น 50 x 1.5 = 75 มม.

มาตรฐานขนาดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเนื่องจากเซนเซอร์ขนาดเดียวกับฟิล์ม 35 มม. นั้นผลิตในปริมาณน้อยและมีต้นทุนในการผลิตสูง ดังน้นขนาดมาตรฐานขนาดใหม่นีจึงถูกมองว่าน่าจะเป็นขนาดที่สามารถผลิตในปริมาณที่มากขึ้นโดยไม่ทำให้คุณภาพของภาพลดลงอย่างมาก และเนื่องจากสามารถทำให้วงกลมภาพและเลนส์มีขนาดเล็กลงไปด้วย ทำให้ขนาดโดยรวมของตัวกล้องสามารถเล็กกะทัดรัดลงได้ ต้นทุนของระบบทั้งหมดจึงลดลงไปอย่างมาก ปัจจุบันจึงได้กลายมาเป็นมาตรฐานเซนเซอร์กระแสหลักสำหรับกล้องดีเอสแอลอาร์

เนื่องจากใช้แต่พื้นที่ส่วนกลางที่มีความคลาดค่อนข้างต่ำ การมืดลงที่ขอบจึงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับแบบเต็มกรอบ 35 มม. อย่างไรก็ตาม หน้าจอที่เล็กลงหมายความว่าเมื่อขยายเป็นขนาดเดียวกัน จะต้องการเลนส์ที่มีความละเอียดและ MTF ที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดี

นอกจากนี้ เนื่องจากมุมรับภาพแคบกว่าแบบขนาด 35 มม. จึงจำเป็นต้องใช้เลนส์มุมกว้างที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่า เพื่อจับภาพช่วงกว้างเท่า ๆ กัน และถ้าต้องการถ่ายภาพโบเก้จะต้องใช้เลนส์ที่มีค่าเอฟที่ต่ำลง นี่ถือเป็นข้อได้เปรียบเมื่อจะถ่ายให้ช่วงความชัดลึก ในการถ่ายโฟกัสชัดลึก และยังมีดีสำหรับการถ่ายภาพระยะไกลตรงที่สามารถใช้เลนส์ถ่ายไกลที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่า ดังนั้นขนาดเลนส์จึงเล็กลงได้

ใกล้เคียง

ระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัล ระบบถนนอินคา ระบบถุงน้ำดับเพลิงทางอากาศ ระบบถ่ายภาพขั้นสูงแบบชนิดซี ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียง ระบบการถอดอักษรแบบไวลี ระบบการถ่ายเทอากาศ ระบบสุริยะ ระบบประสาทรับความรู้สึก ระบบการทรงตัว