ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต
ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต

ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต

ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (อังกฤษ: Dwight D. Eisenhower National System of Interstate) หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า อินเตอร์สเตต (อังกฤษ: Interstate) เป็นระบบเครือข่ายทางหลวงที่เชื่อมเกือบทุกรัฐในสหรัฐอเมริกาเข้าด้วยกัน (ยกเว้น อะแลสกาและ ฮาวาย) โดยทั้งระบบนี้มีความยาวถนนกว่า 75,198 กม. (46,726 ไมล์) ข้อมูลในเดือน ตุลาคม 2545การเดินทัพที่รวดเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับกองทัพ นายพลดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ทั่วโลกอยู่ท่ามกลางสงครามเย็นอันร้อนระอุ จึงผุดอภิมหาโครงการอย่างการก่อสร้างถนนระหว่างรัฐขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อจะได้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือรัฐต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อถูกโจมตี เหมือนการเดินทัพอย่างรวดเร็วบนทางหลวงพิเศษ หรือออโตบาห์นของกองทัพนาซี อย่างไรก็ตาม แรงสนับสนุนที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการนี้หาใช่กองทัพ แต่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ช่วยกันผลักดันให้ National Interstate and Defense Highways Act ได้รับการอนุมัติ ซึ่งประสบความสำเร็จใน พ.ศ. 2499 นั่นเองระบบทางหลวงระหว่างรัฐของสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มต้นก่อสร้างขึ้นจากหนึ่งรัฐไปสองรัฐ จนกระทั่งครอบคลุมทั่วทุกรัฐ ประกอบไปด้วยทางหลวง 3 แบบ ได้แก่ ทางหลวงที่ไม่จำกัดความเร็ว (freeway) ทางหลวงแผ่นดิน (highway) และทางหลวงพิเศษ (expressway) ใช้ระบบตัวเลขกำหนดสายทาง โดยตัวเลข 1 หลักและ 2 หลักจะเป็นถนนสายหลัก โดยเส้นทางที่ลงท้ายด้วยเลขคู่จะเป็นเส้นทางข้ามจากฝั่งตะวันออกมาตะวันตก ส่วนเส้นทางที่ลงท้ายด้วยเลขคี่จะเป็นเส้นทางจากเหนือจรดใต้ ส่วนตัวเลข 3 หลักจะเป็นถนนที่เป็นสาขาหรือเส้นทางวนรอบพื้นที่ในเขตชนบท

ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต

ความยาว: 47,856 ไมล์[lower-alpha 1] (77,017 กิโลเมตร)
ก่อตั้ง: 29 มิถุนายน ค.ศ. 1956 (1956-06-29)[2]
อินเตอร์สเตต Interstate X (I-X)

ใกล้เคียง

ระบบท่อมัลพิเกียน ระบบทางหลวงสหรัฐ ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต ระบบทางหลวงสหพันธ์มาเลเซีย ระบบทางหลวงฟิลิปปินส์ ระบบทรงตัว ระบบทศนิยมของดิวอี้ ระบบทางเดินโลหิต ระบบทางเดินหายใจ ระบบทุนนิยม