การทำงาน ของ ระบบท่อมัลพิเกียน

ของเหลวที่ต่อมาจะกลายเป็นปัสสาวะจะก่อตัวขึ้นภายในท่อนี้ โดยของเสียจำพวกไนโตรเจนและอิเล็กโทรไลต์จะถูกขนส่งผ่านผนังท่อ และเชื่อกันว่าของเสียเช่นยูเรียและกรดอะมิโนจะใช้แพร่ผ่านผนัง ไอออนของโซเดียมและโพแทสเซียมใช้กระบวนการขนส่งที่ใช้พลังงาน ของเหลวดังกล่าวจะผสมเข้าด้วยกันที่ส่วนท้ายของทางเดินอาหาร ที่ซึ่งมีการดูดกลับไอออนของโซเดียม โพแทสเซียม และน้ำ ณ บริเวณไส้ตรง นอกจากนี้ยังมีการตกตะกอนของกรดยูริกอีกด้วย โดยหลังจากนี้กรดยูริกจะผสมเข้ากับกากอาหารเพื่อขับออกนอกร่างกายต่อไป

มีการค้นพบระบบท่อมัลพิเกียนที่มีระบบไหลเวียนภายในอันซับซ้อนในแมลงบางอันดับ แมลงจำพวกมวน (Hemiptera) มีท่อมัลพิเกียนที่ช่วยให้เกิดการไหลของของเหลวในตัวไปยังส่วนปลายของท่อ ในขณะที่การดูดกลับของน้ำและไอออนที่จำเป็นจะเกิดขึ้นที่ส่วนต้นของท่อและไส้ตรง แมลงในลำดับ Coleoptera และ Lepidoptera ใช้การจัดเรียงท่อเป็นคริปโตเนฟริเดียม (cryptonephridium) ซึ่งส่วนปลายของท่อฝังอยู่ในเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ล้อมรอบไส้ตรงอีกทีหนึ่ง การจัดเรียงเช่นนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแปรสภาพของเหลวในท่อมัลพิเกียน

ใกล้เคียง

ระบบท่อมัลพิเกียน ระบบทางหลวงอินเตอร์สเตต ระบบทางหลวงสหรัฐ ระบบทางหลวงสหพันธ์มาเลเซีย ระบบทางหลวงฟิลิปปินส์ ระบบทรงตัว ระบบทศนิยมของดิวอี้ ระบบทางเดินโลหิต ระบบทางเดินหายใจ ระบบทุนนิยม