การลงคะแนนและการนับคะแนน ของ ระบบบัตรลงคะแนนหลายรอบ

ตัวอย่างบัตรลงคะแนน

ในแต่ละรอบนั้นผู้ลงคะแนนสามารถกาเครื่องหมายเลือกผู้สมัครที่ต้องการ หากไม่มีผู้สมัครรายใดได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (เกินครึ่งหนึ่ง) ในรอบแรก จะต้องตัดผู้สมัครรายที่ได้คะแนนน้อยที่สุดออกในขณะที่ผู้สมัครทั้งหมดที่เหลือผ่านเข้าไปในรอบที่สอง และหากยังไม่มีผู้สมัครรายใดที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดอีกผู้สมัครที่ได้คะแนนน้อยที่สุดก็จะตกรอบ ในรอบที่สามหากยังไม่มีผู้สมัครรายใดที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดอีกผู้สมัครที่ได้คะแนนน้อยที่สุดในรอบก็จะตกรอบ โดยกระบวนการนี้จะถูกทำซ้ำหลายรอบจนกว่าจะได้ผู้สมัครรายเดียวที่มีคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด หากจำเป็น จะทำการเลือกตั้งจนกว่าจะเหลือเพียงผู้สมัครสองคนสุดท้าย และหากเกิดกรณีนี้ขึ้นผู้ชนะจะต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด

ในระหว่างการลงคะแนนในแต่ละรอบ ผู้ลงคะแนนสามารถเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครรายอื่นได้โดยอิสระ ยกเว้นรายที่ตกรอบไปแล้ว

แบบย่อย

  • การบังคับให้ใช้เกณฑ์คะแนนเสียงข้างมากพิเศษ (สองในสาม) ในการเลือกผู้ชนะนั้น สามารถกระทำได้ทั้งในรอบแรก ๆ หรือทุกรอบทั้งหมดเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิตาลี ในรอบแรก ๆ นั้นใช้คะแนนเสียงข้างมากพิเศษ และในรอบที่สี่เป็นต้นไปลดเกณฑ์ลงเพียงแค่เกณฑ์คะแนนเสียงข้างมากธรรมดา
  • ในบางแบบย่อยของระบบนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวในการกำจัดผู้สมัครออกในแต่ละรอบ โดยปกติผู้สมัครจะเป็นฝ่ายถอนตัวเองโดยอาสา
  • ในบางแบบย่อยจะค่อย ๆ เพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำในการกำจัดผู้สมัครออกในแต่ละรอบเพื่อความรอมชอม ตัวอย่างเช่น ในการคัดเลือกตัวผู้สมัครวุฒิสมาชิกสหรัฐของพรรคประชาธิปัตย์-ชาวนา-แรงงานแห่งมินนิโซตา ใน ค.ศ. 2008 นั้นใช้ระบบบัตรลงคะแนนหลายรอบโดยมีกฎในการปรับตกรอบเริ่มที่ร้อยละ 5 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 หลังจากรอบที่ 5 และหลังจากนั้นผู้สมัครรายใดที่มีคะแนนเสียงน้อยที่สุดจะถูกกำจัดออกจนกว่าจะเหลือเพียงสองคน[1]
  • อีกแบบย่อยที่กำจัดผู้สมัครมากกว่าหนึ่งรายในแต่ละรอบ ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งประธานสภาสามัญชนแห่งแคนาดา และสหราชอาณาจักรนั้นผู้สมัครรายใดที่ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 5 ในรอบแรกนั้นจะถือว่าตกรอบทันที

ใกล้เคียง

ระบบบริการสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น ระบบบัดดี ระบบบัตรลงคะแนนหลายรอบ ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ระบบบริการเว็บ ระบบสุริยะ ระบอบนาซี ระบบประสาทรับความรู้สึก ระบบการทรงตัว ระบบประสาทรับความรู้สึกทางกาย