การใช้งานในปัจจุบัน ของ ระบบลงคะแนนแบบเสียงเดียวผสม

ฮังการี

ใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งท้องถิ่นสำหรับเทศบาลและเขตในเมืองหลวงที่มีประชากรเกินกว่า 10,000 คน ในแบบถ่ายโอนคะแนนบวก ซึ่งใช้เฉพาะคะแนนเสียงของผู้สมัครที่แพ้ถ่ายโอนไปให้กับผู้สมัครในระดับชดเชย[2] โดยการถ่ายโอนคะแนนนั้นจะอยู่ในพื้นฐานของการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครท้องถิ่น โดยจะได้รับการจัดสรรที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนที่ได้รับจากคะแนนที่โอนมา[3]

  • พื้นที่ที่มีประชากรไม่เกิน 25,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขต 8 คน และแบบชดเชยที่นั่ง 3 คน
  • พื้นที่ที่มีประชากรไม่เกิน 50,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขต 10 คน และแบบชดเชยที่นั่ง 4 คน
  • พื้นที่ที่มีประชากรไม่เกิน 75,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขต 12 คน และแบบชดเชยที่นั่ง 5 คน
  • พื้นที่ที่มีประชากรไม่เกิน 100,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขต 14 คน และแบบชดเชยที่นั่ง 6 คน
  • พื้นที่ที่มีประชากรเกินกว่า 100,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขตเพิ่มขึ้นในอัตราส่วน 1 คนต่อประชากร 10,000 คน ในขณะที่แบบชดเชยที่นั่งเพิ่มขึ้นทุก 1 คนต่อประชากร 25,000 คน

ตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปในปีค.ศ. 2014 เป็นต้นมา สภาใหญ่แห่งบูดาเปสต์ได้ใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งผู้ว่าการโดยตรงใน 23 เขต และมีอีก 9 คนมาจากการเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อชดเชยของแต่ละพรรคการเมืองตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ผู้สมัครของพรรคนั้นได้รับ (ผู้สมัครตำแหน่งผู้ว่าการกรุงบูดาเปสต์ และผู้ว่าเขตนั้นสามารถอยู่ในบัญชีรายชื่อชดเชยได้)

เนื่องจากจำนวนที่นั่งชดเชยมีน้อย ระบบนี้จึงไม่สามารถรับรองผลลัพธ์ให้มีความเป็นสัดส่วนได้ และส่วนใหญ่มักจะทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีผู้แทนน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งทางทฤษฎีอาจให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันกับพรรคการเมืองใหญ่ได้เช่นเดียวกับกรณีของระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ

ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาก็ใช้ระบบลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนบวกอีกระบบหนึ่ง[4] ซึ่งสามารถใช้กลไกชดเชยที่นั่งได้จำนวนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามระบบนี้ไม่ใช่ระบบเสียงเดียวผสมเต็มรูปแบบเพราะยังมีส่วนประกอบที่เป็นระบบคู่ขนานอยู่

ใกล้เคียง

ระบบลีกฟุตบอลไทย ระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ ระบบลีกฟุตบอลสเปน ระบบลงคะแนนแบบเสียงเดียวผสม ระบบลิมบิก ระบบลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติตามความชอบ ระบบลีกฟุตบอลญี่ปุ่น ระบบลิ้มรส ระบบลูกโซ่ความเย็น ระบบลำธาร