ส่วนประกอบอื่นๆที่ช่วยสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

นอกจากแนวคิดระบบใหม่ๆที่ช่วยสนับสนุนสารสนเทศได้แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนแนวคิดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น

Service-oriented architecture (SOA)

คือ การนำแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันที่มีการเรียกใช้บริการที่อยู่บนเน็ตเวิร์คหรืออิน6เทอร์เน็ต หรือมี การให้บริการแก่แอปพลิเคชันอื่นๆ ในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้กับองค์กร โดยอาศัยหลักการเว็บเซอร์วิสซึ่งเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งานภายในองค์กรถือเป็นแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร

SOA แบ่งเป็น 2 คำ Service-Oriented และ Architecture[3]

  • Service-Oriented เป็น Software ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ แพ็คเกจ แต่เป็นซอฟต์แวร์ตัวเล็ก ทำงานเฉพาะด้าน ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งเป็นบริการอะไรบ้าง
  • Architecture คือการออกแบบ โดยจะมององค์กรโดยรวมว่าต้องการบริการอะไรบ้าง ก็จะแบ่งบริการนั้นๆออกเป็นส่วนย่อยๆ

ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOAคือเว็บเซอร์วิสแต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะเว็บเซอร์วิสเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ SOA ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ

  • Enterprise Service Bus เป็นโครงข่ายสำคัญในการขับเคลื่อน SOA ทั้งหมด เป็นการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชัน
  • Design-Time Governance เป็น ดาต้าเบส กลางช่วยรวบรวมว่าองค์กรมีบริการอะไรบ้าง และช่วยนำบริการออกไปยังหน่วยงานและควบคุมบริการให้เหมาะสมกับองค์กรด้วย
  • Run-Time management เป็นตัวจัดการ ทำอย่างไรให้บริการทำงานสอดคล้องกับ SOA ที่ตั้งไว้
  • Security Gateway ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Firewall ที่เป็นเน็ตเวิร์ก แต่เป็น Application Firewall ที่เข้าใจ คำสั่ง XML นอกจากนี้ต้องมี Application Delivery Control ช่วยเร่งความเร็วในการทำงานของ SOA ด้วย

SOA มีประโยชน์อย่างไร[4]SOA มีประโยชน์อย่างมากทั้งบริษัทเอกชนและองค์กรในภาครัฐ โดยถ้ามองในแง่ของบริษัทเอกชน SOA จะช่วยทำให้เกิดการรวบรวมข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจได้ง่าย ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มของบริษัทนั้น ๆ

โปรแกรมประยุกต์ใช้งานตามภารกิจเฉพาะ (software-as-a-service : SaaS)

The software as a service business model เป็นโมเดลทางด้านธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม โดยแนวความคิดพื้นฐานเป็นการเอามาแทนที่การขายซอร์ฟแวร์ แบบเก่า ที่มีราคาแพง และการติดตั้งที่ยุ่งยาก น่ารำคาญออกไป โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการใช้งานผ่านระบบเครือข่าย หรือตัว Internet Browser ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องซื้อฮาร์ดแวร์ หรือ ซอร์ฟแวร์ โดยผู้ใช้งานจะจ่ายเพียงแค่ค่าคิดบริการการเป็นสมาชิก หรือค่าบริการตามที่ใช้งานจริง (pay per usage) ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงไปได้SaaS on demand model ยังเป็นบริการที่สามารถพัฒนาต่อเนื่องได้ตลอดเวลา กับความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ สามารถดัดแปลงได้ง่าย เข้ากับองค์กร การบำรุงรักษา จะเพียงพอกับทรัพยากร และตามความต้องการ และการคำนวณค่าใช้จ่ายทางด้านการบำรุงรักษาจะเป็นอัตราที่แน่นอน และเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก

SaaS และ SOA

  • Saas : เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการสร้างซอร์ฟแวร์ในปัจจุบัน นอกจากนั้นซอร์ฟแวร์ยังมีการพัฒนา และผูกติดทุกสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้ผู้ผลิตรายเดียว
  • SOA : ซอร์ฟแวร์จะมาจากหลายแหล่งผูกติดกันแค่จุดที่ต้องการคำนวณ (point of execution) จึงทำให้สามารถเปลี่ยน เพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ จึงทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น

Implementing SaaS : The Utility Computing Concept.

Utility computing หมายถึงการให้บริการการประมวลผล มีความเสถียร และปลอดภัย เหมือนกับการให้บริการไฟฟ้า น้ำประปา หรือโทรศัพท์ เป้าหมายของ utility computing คือการให้บริการทรัพยากรสำหรับการประมวลผลตามความต้องการได้จากทุกแห่งทั่วโลก ตลอดเวลาและตามความต้องการ ปลอดภัย ประสิทธิภาพที่วัดได้ ราคาที่ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ ขนาดที่ยืดหยุ่น และง่ายในการบริหารจัดการ ในส่วนของการใช้งานระดับองค์กร จะช่วยลดเงินที่ต้องสูญเสียไปอย่างมหาศาล ไอบีเอ็ม (IBM) On-Demand project, HP, Microsoft, Oracle SAP และบรรดาบริษัทซอฟต์แวร์รายใหญ่ อยู่เบื้องหลังแนวความคิดนี้

ถ้าสำเร็จ Utility computing จะเปลี่ยนเส้นทางการขายซอฟต์แวร์ การจัดส่ง และการใช้งานในโลก ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าซอฟต์แวร์ทุกชนิดจะกลายมาเป็นบริการและขายแบบเหมือนบริการทุกวันนี้

วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง (Virtualization)

เป็นแนวความคิดใหม่ ๆ หลายครั้งที่จะนิยามความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" ซึ่งส่วนใหญ่ประเภทของวิสากิจเชิงเสมือนจริง คือ hardware virtualization แต่โดยทั่วไป วิสาหกิจเชิงเสมือนจริงแยกจากการใช้ประโยชน์ในธุรกิจ และข้อมูลจากทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งวิสาหกิจเชิงเสมือนจริงนั้นยอมรวมกับทรัพยากรสารสนเทศ ด้าน Hardware, Server และรวมถึงทรัพยากรต่างๆที่ต้องการ

ชนิดของวิสาหกิจเสมือนจริง มีดังนี้

  • การจัดเก็บ(Storage) การรวมกันทางกายภาพของการจัดเก็บจากหลากหลาย network และควบคุมจากส่วนกลาง
  • ด้านเครือข่าย(Network) ประกอบกับเครือข่ายทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยแยกการจัดการออกเป็นส่วนๆ อีกทั้งยังรวมถึง Server ที่อยู่บนเครือข่าย
  • Hardware คือการใช้โปรแกรม (Software) ,Hardware ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบต่าง ๆของคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการต่างๆ บางครั้งอาจจะเป็น virtual machine

วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง สามารถเพิ่มขึ้นเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุปเทคโนโลยี Virtualization เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์และได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อบุคคลกลุ่มต่างๆ ในลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับบทบาทและแง่มุมของแต่ละกลุ่มบุคคลไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภคที่จะพิจารณา

กลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร (Knowledge Workers)

ปัจจุบันสังคมได้ปรับเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตไปสู่การบริการและความรู้ และองค์กรชั้นนำส่วนใหญ่เชื่อว่า "ความรู้" คือทรัพย์สินที่สำคัญและจะเป็นตัวสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เพราะความรู้ลอกเลียนแบบกันยากแต่ต้องบริหารจัดการเอง ทำให้กระแสตื่นตัวเรื่อง การบริหารความรู้เป็นที่นิยมอย่างมาก ขณะเดียวกันกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานบนฐานขององค์ความรู้ หรือที่เรียกว่า "Knowledge Workers" ซึ่งเป็นพลังสำคัญของระบบเศรษฐกิจสังคมใหม่ ก็กลายเป็นจุดสนใจมากขึ้น

มีนักวิชาการให้ความหมายของคำว่า Knowledge Workers ว่ากลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร โดยแปลงและประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นข้อมูลข่าวสารใหม่ ซึ่งจะนำไปใช้ในการค้นหาและแก้ปัญหาขององค์กร เพิ่มผลประโยชน์ให้กับองค์กร พวกเขาสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับคนอื่น เรียนรู้จากผู้อื่น พร้อมที่จะเสี่ยงและเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ใช่แค่เพียงแต่จ้องจะวิพากษ์วิจารณ์จับผิดผู้อื่น กล่าวโดยสรุป Knowledge Workers ก็คือคนที่แก้ปัญหา ใช้สติปัญญาไม่ใช่งานแรงงานหรือธุรการงานประจำ พวกเขาต้องการความอิสระในการปฏิบัติงานสูง ใส่ใจต่อคุณภาพของการตัดสินใจและการใช้วิจารณญาณ มีความรู้พื้นฐานที่คนอื่นเลียนแบบได้ยาก สามารถในการแยกแยะ สร้าง ใช้ และพัฒนาข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนองค์ความรู้ให้มีความลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม เพื่อผลประโยชน์คือความสำเร็จขององค์กร[5]

ใกล้เคียง

ระบบสุริยะ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง ระบบสกาดา ระบบส่งข้อความทันที ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสภาเดียว