แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการคิดซึ่งเป็นที่มาของแนวความคิดที่ตกผลึกโดยสังเขป เขียนเป็นผังการไหลของข้อมูล เมื่อต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยปัจจัยอื่นๆที่ไม่ได้เขียนไว้ก็เพื่อความกระชับ

แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Concepts and Management) เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยต่างๆ ที่จะนำระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ ซึ่งจะมีองค์ประกอบที่ใช้แตกต่างกันไปตามภารกิจและขนาดองค์กร วัตถุประสงค์ และเงื่อนไขต่างๆ ปัจจัยเหล่านั้นที่ใช้สำหรับการตัดสินใจสามารถจำแนกออกได้ดังนี้

ระบบสารสนเทศ (Information System) (IS)

ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนข้อมูล (Data) ไปเป็นสารสนเทศ (Information) และทำให้สารสนเทศนั้นกลายเป็นความรู้ (Knowledge) นอกจากนี้จากยังมีคำหนึ่งที่มาความหมายสืบเนื่องจากทั้ง 3 คำ คือ ผู้รู้ (Wisdom) หรือ กูรู หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ด้านนั้นๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ ชำนาญการในความรู้นั้นๆ

ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System)

เป็นกระบวนการที่มีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นประจำวัน เป็นข้อมูลกระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น ลูกค้าทำการสั่งซื้อหรือจ่ายเงิน การเก็บข้อมูลสินค้าคงคลัง ในธุรกิจที่มีการทำรายการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานนี้เรียกว่าระบบประมวลผลธุรกรรม เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า ระบบนี้จะมีการจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกันการคิดคำนวณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ ทำการจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้นและทำการสรุปข้อมูล เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น มีการเก็บ (Storage)การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานแต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS)

คือ ระบบประมวลผลรายการที่ครอบคลุมกิจกรรมหลัก ๆ ขององค์กร แต่จะแตกต่างจากระบบประมวลผลรายการที่ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และออกรายงานต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นรายงานสรุปข้อมูลต่างๆ ซึ่งไม่ใช่งานประจำที่ทำอยู่ทุกวัน เหมือนกับระบบประมวลผลรายการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ยังใช้สำหรับการวางแผน การติดตามและควบคุมงานในองค์กรด้วย ซึ่งผู้บริหารระดับล่าง และกลางเป็นผู้ใช้งาน

ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)

ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

  • การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
  • การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
  • การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
  • การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
  • การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  • การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
  • การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา (Legacy System)

ระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา เป็นระบบการทำงานเดิมที่เคยมีอยู่แล้วภายในองค์กร เป็นระบบที่มีความสำคัญกับการทำงานขององค์กร การเปลี่ยนแปลงองค์กรเข้าสู่องค์กรที่มีความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น legacy System จะมีผลและเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้พัฒนาจะต้องคำนึกถึง เนื่องจากว่า legacy System มักจะเกี่ยวข้องกับการทำงานประจำของพนักงานภายในองค์กร การเปลี่ยนแปลง หรือ การนำระบบใหม่ๆมาแทนที่ระบบเก่าจึงเกี่ยวข้องกับบุคคลภายในองค์กร และควบคุมได้ค่อนข้างยาก[2]

ระบบวิสาหกิจ (Enterprise System)

คือระบบหรือกระบวนการต่างๆ ที่ใช้ทั้งองค์กร เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะใช้ Database และ Data ร่วมกัน ซึ่งจะคอยจัดการระบบสารสนเทศ โดยรวมเอา Business Process หลักๆขององค์กรเข้ามารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว

ลักษณะของ Enterprise system

  • ทำให้องค์กรมีโครงสร้างที่แข็งแรง และมีลักษณะการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแบ่งเป็นระยะย่อยๆของใครของมัน
  • การบริหารจัดการดีขึ้น
  • ใช้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะง่ายต่อการดูแล
  • การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า

การได้มาซึ่ง Enterprise systems

  • มีการสร้าง Business Model เกิดขึ้นมากมาย
  • มีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ลงทุนมาก ใช้งานยาก
  • ไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในการทำงาน

ใกล้เคียง

ระบบสุริยะ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง ระบบสกาดา ระบบส่งข้อความทันที ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสภาเดียว