การส่งไฟฟ้าแรงสูง ของ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง

แรงดันสูงถูกนำมาใช้สำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อลดการสูญเสียพลังงานเนื่องจากความต้านทานของสายไฟ เมื่อพิจารณาปริมาณของพลังงานที่จะถูกส่งไปและขนาดตัวนำ ถ้าแรงดันไฟฟ้าที่จะส่งเป็นสองเท่า และต้องการส่งด้วยพลังงานเท่าเดิม ต้องลดกระแสลงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากพลังงานที่หายกลายเป็นความร้อนในสายไฟนั้นเป็นสัดส่วนกับกำลังสองของกระแสแต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้า ดังนั้นการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า 2 เท่า จะสามารถลดการสูญเสียได้ 4 เท่า ในขณะที่กำลังที่สูญเสียลดลง แต่ขนาดของสายตัวนำต้องใหญ่ขึ้น ตัวนำก็หนักขึ้นและแพงขึ้น

แรงดันไฟฟ้าที่สูงไม่สามารถนำมาใช้สำหรับไฟฟ้าแสงสว่างหรือใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทันทีด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย. เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าที่ส่งไปลดลงในระดับที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ของลูกค้าได้ จะต้องใช้หม้อแปลงในการเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้าในระบบสายส่งกระแสสลับ (AC) หม้อแปลง AC กลายเป็นส่วนสำคัญหลังสงครามแห่งกระแสของการแข่งขันระหว่างระบบกระแสตรง (DC) ของโทมัส เอดิสันและระบบ AC ของจอร์จ เวสติงเฮ้าส์ (ที่ซื้อสิทธิบัตร AC มาจาก Nikola Tesla) เพราะหม้อแปลงสามารถเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าได้ในทางปฏิบัติ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังสูงใช้ AC มากกว่า เพราะมีประสิทธิภาพสูงกว่าใช้ DC

การแปลงสลับไปมาระหว่าง AC และ DC ที่มีแรงดันไฟฟ้าและกำลังงานไฟฟ้าที่สูง สามารถทำได้ในทางปฏิบัติหลังจากการพัฒนาอุปกรณ์เช่น วาล์วปรอทอาร์คและเริ่มต้นในปี 1970 ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ใช้อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์เช่น thyristors และ Integrated gate-commutated thyristors (IGCTs ), MOS-controlled (MCTs) และ Insulated-gate bipolar transistor (IGBT) เป็นตัวเรียงกระแส

ใกล้เคียง

ระบบสุริยะ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง ระบบสกาดา ระบบส่งข้อความทันที ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสภาเดียว