ภาพรวม ของ รักร่วมเพศ

แผนที่แสดงสถานภาพทางกฎหมาย ของคนรักร่วมเพศทั่วโลก
- ประเทศที่กฎหมายยอมรับคนรักร่วมเพศ
  อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้
  อนุญาตให้คนเพศเดียวกันมีความสัมพันธ์เชิงคู่รัก และได้รับสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายใกล้เคียงหรือเหมือนกับการแต่งงาน แต่ไม่เรียกว่า การแต่งงาน
  ยอมรับคู่สมรสรักร่วมเพศต่างชาติ แต่ไม่ยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกันภายในประเทศ
  คู่สมรสรักร่วมเพศ ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายระดับสหพันธรัฐ แต่กฎหมายระดับมลรัฐไม่ยอมรับความสัมพันธ์เชิงคู่รักของคนเพศเดียวกัน
  ไม่มีกฎหมายยอมรับการใช้ชีวิตคู่ของคนรักร่วมเพศ แต่การเป็นคนรักร่วมเพศไม่ผิดกฎหมาย
- ประเทศที่กฎหมายต่อต้านคนรักร่วมเพศ
  การเป็นคนรักร่วมเพศไม่ผิดกฎหมาย แต่มีกฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นสนับสนุนสิทธิของชาวรักร่วมเพศ
  การเป็นคนรักร่วมเพศผิดกฎหมาย แต่ในสภาพจริง ไม่มีการลงโทษ
  การเป็นคนรักร่วมเพศถูกลงโทษจำคุก แต่ไม่ถึงขั้นติดคุกตลอดชีวิต
  การเป็นคนรักร่วมเพศ มีโทษสูงสุดถึงจำคุกตลอดชีวิต
  การเป็นคนรักร่วมเพศ มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต

รักเพศเดียวกัน มีในสังคมมนุษย์มาตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์แรก ๆ รูปแบบบางอย่างเกี่ยวกับการดึงดูดทางเพศและความต้องการทางเพศระหว่างผู้ชายด้วยกันฝั่งแน่นมานาน เป็นการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรทัดฐานสังคม และมีการกล่าวถึงมากที่เกี่ยวกับกรีกโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ (อย่างเช่นการร่วมเพศทางทวารหนักในบางวัฒนธรรม หรือการทำออรัลเซ็กซ์กับผู้อื่น) ในบางวัฒนธรรมอย่างศาสนาเอบราฮัมมีกฎหมายออกมา และโบสถ์ได้ถือว่าการร่วมเพศทางทวารหนักเป็นการละเมิดต่อกฎสวรรค์ หรือเป็น "อาชญากรรมฝืนธรรมชาติ" ที่ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษอย่างรุนแรง อย่างเช่น การประหารชีวิต โดยมากใช้ไฟเผา (เพื่อเป็นการกระทำชำระบาป) การร่วมเพศทางทวารหนักระหว่างผู้ชายด้วยกัน เกิดขึ้นก่อนยุคความเชื่อคริสเตียน โดยมากมักอ้างถึงในกรีกโบราณ ว่าเป็น "อธรรมชาติ" ย้อนไปได้ในยุคเพลโต[19]

ใน 2 ทศวรรษของศตวรรษที่ 19 มุมมองที่แตกต่างกันเริ่มครอบงำทางด้านแพทย์ศาสตร์และจิตวิทยา ถูกประเมินว่าเป็นพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงประเภทของคน ที่อธิบายและความสัมพันธ์กับอัตลักษณ์ทางเพศ Karl-Maria Kertbeny บัญญัติคำว่า โฮโมเซ็กชวล ในปี 1869 ในหนังสือโต้เถียงต่อกฎหมายปรัสเซียในการต่อต้านการร่วมเพศทางทวารหนัก[20][21] และต่อมาในหนังสือ Psychopathia Sexualis ที่เขียนโดย Richard von Krafft-Ebing ในปี 1986 ก็ได้ขยายความเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดนี้[21]

ในปี 1897 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษที่ชื่อ เฮฟล็อก เอลลิส พิมพ์ มุมมองที่คล้ายกันในหนังสือของเขาที่ชื่อ Sexual Inversion[22] ถึงแม้ว่าหนังสือทางแพทย์เหล่านี้จะไม่ได้แพร่หลายสู่สาธารณะในวงกว้าง แต่พวกเขาก็รับทราบจากคณะกรรมการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมทางวิทยาศาสตร์ของ Magnus Hirschfeld ซึ่งเป็นโครงการตั้งแต่ปี 1897 ถึง 1933 เพื่อต่อต้านกฎหมายต่อต้านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ในเยอรมนี เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวอย่างไม่เป็นทางการในบรรดาหมู่ปัญญาชนชาวอังกฤษและนักเขียน นำโดย เอดเวิร์ด คาร์เพนเทอร์ และจอห์น แอดดิงทัน ไซมอนด์ส

ในศตวรรษที่ 20 รักเพศเดียวกันเป็นเรื่องการศึกษาที่สำคัญและถกเถียงในสังคมตะวันตก โดยเฉพาะหลังจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของเกย์ที่เริ่มในปี 1969 และเมื่อผ่านอำนาจผู้มีอำนาจอย่างด้านพยาธิวิทยาหรือความป่วยทางจิตที่สามารถรักษาได้ รักเพศเดียวกันได้มีการตรวจสอบมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เข้าใจทางด้านชีววิทยา จิตวิทยา การเมือง พันธุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความหลากหลายด้านวัฒนธรรมของการปฏิบัติทางเพศและอัตลักษณ์ กฎหมายและสถานภาพทางด้านสังคมของคนที่ต่อสู้ในการกระทำของชาวรักร่วมเพศ หรือการบ่งชี้ในฐานะเกย์หรือเลสเบียนแปรเปลี่ยนไปไปทั้งโลก และในบางที่ก็ยังคงต่อต้านทั้งทางด้านการเมืองและศาสนา

แหล่งที่มา

WikiPedia: รักร่วมเพศ http://www.gayhistory.com/rev2/events/kertbeny.htm http://www.glbtq.com/social-sciences/latin_america... http://www.glbtq.com/social-sciences/mexico.html http://www.pantip.com/cafe/book_stand/duangjaipoem... http://www.press.uchicago.edu/cgi-bin/hfs.cgi/00/2... http://www.udel.edu/LAS/Vol3-2Coello.html#Introduc... http://www.courtinfo.ca.gov/courts/supreme/highpro... http://books.google.co.in/books?id=xsHvRJ0663wCPag... http://www.aftenposten.no/english/local/article633... http://aappolicy.aappublications.org/cgi/reprint/p...