รัฐชัยปุระ
รัฐชัยปุระ

รัฐชัยปุระ

รัฐชัยปุระ (อักษรโรมัน: Jaipur) เป็นรัฐมหาราชาในอินเดียในสมัยอีสต์อินเดียคัมปานี และบริติชราช รัฐลงนามในสนธิสัญญาถ่ายโอนสิทธิ์การปกครองให้กับอังกฤษในปี 1818 และเข้าร่วมกับอินเดียซึ่งพึ่งได้รับเอกราชในปี 1947[1][2] หลังการรวมเข้ากับอินเดียอย่างเป็นทางการ รัฐบาลอินเดียได้มอบเงินชดเชยแก่มหาราชา และยังคงยืนยันให้มีสิทธิพิเศษบางประการอยู่ รวมถึงยังสามารถใช้นามว่า มหาราชาแห่งชัยปุระ ได้[1] เรื่อยมาจนถึงปี 1971 หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแปรญัติฉบับที่ 26[3][4]ชื่อเดิมของรัฐคืออาเมร์ (Amer) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 เรื่อยมาถึงปี 1727 ที่ซึ่งมีการสร้างราชธานีขึ้นใหม่ในชื่อ ชยปุร (ชัยปุระในปัจจุบัน) จึงได้เปลี่ยนชื่อรัฐใหม่เป็นรัฐชัยปุระเรื่อยมา[5]

รัฐชัยปุระ

ประวัติศาสตร์  
ภาษาทั่วไป ธุนธรี,
ฮินดี
การปกครอง ราชาธิปไตย
(1128–1818; 1947–1949)
รัฐมหาราชา
(1818–1947)
สกุลเงิน รูปีอินเดีย
• เข้าร่วมอินเดีย 1949
มหาราชา สวาอี  
เมืองหลวง ชัยปุระ
สถานะ
• 1128 ดูลหะ รายะ (แรก)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ รัฐราชสถาน
ประเทศอินเดีย
• 1922–1949 มาน สิงห์ ที่สอง (ท้าย)
• ก่อตั้ง 1128