รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา

รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา (ญี่ปุ่น: 十七条憲法 โรมาจิjūshichijō kenpō; อังกฤษ: seventeen-article constitution) เป็นงานที่เจ้าชายโชโตะกุ (Shōtoku) นิพนธ์ขึ้นเมื่อปี 604 ตามความในพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 720[1] ต่อมา พระนางซุอิโกะ (Suiko) ทรงตรานิพนธ์นั้นเป็นกฎหมายซึ่งภายหลังนิยมเรียกกันว่ารัฐธรรมนูญ และถือกันว่า เป็นหนึ่งในเอกสารซึ่งบังคับบัญชาเรื่องศีลธรรมฉบับเริ่มแรกที่สุดในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญมีเนื้อความหลักดังนี้งานนี้จะเป็นรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงไรยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ได้ว่าด้วยวิธีปกครองประเทศดังรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ แต่ว่าด้วยปรัชญาพุทธและขงจื่อที่ข้าราชการและพสกนิกรพึงมีเพื่อให้กิจการของรัฐเป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุด[2] และแม้ว่างานนี้จะนำเสนอหลักการปกครองทำนองเดียวกับที่ปรากฏในคำปรารภของรัฐธรรมนูญสมัยใหม่หลายฉบับ เช่น รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา แต่ก็ขาดไร้องค์ประกอบอื่นที่พึงมี ดังที่วิลเลียม ทีโอดอร์ ดี แบรี (William Theodore de Bary) ว่า "'รัฐธรรมนูญ' ของเจ้าชายโชโตะกุนั้นเน้นหลักพื้นฐานทางศีลธรรมและจรรยามากกว่าจะประมวลรายละเอียดกฎหมายและวิธีการบังคับใช้กฎหมายเอาไว้"[3]รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรานี้เป็นกฎหมายอยู่จนมีการตราประมวลกฎหมายอาญาและปกครอง (Ritsuryō) ขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 17 แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่า เนื้อความของรัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตราที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่น ๆ ในชั้นหลัง ย่อมมีผลใช้บังคับจนถึงปี 1890 และอาจมีผลอยู่ในปัจจุบันด้วย[4][5]

ใกล้เคียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญสหรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญเมจิ