การแก้ไขเพิ่มเติม ของ รัฐธรรมนูญเมจิ

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้มีกำหนดไว้ในมาตรา 73 ว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะเป็นกฎหมายได้ ต้องมาจากการเสนอของจักรพรรดิโดยการมีพระราชโองการหรือพระราชหัตถเลขาไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาทั้งสองของสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยคะแนนะเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของแต่ละสภา จึงจะถือว่า ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเมื่อได้รับความเห็นชอบดังกล่าวแล้ว จักรพรรดิจะทรงตราร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นกฎหมาย แต่มีพระราชอำนาจเต็มที่ที่จะยับยั้งร่างนั้นได้ นอกจากนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ในช่วงที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

แต่ไม่ว่าบทบัญญัติเหล่านี้จะว่าไว้ประการใด ก็ไม่เคยมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเลยนับแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นต้นมาจนสิ้นอำนาจลงไปใน ค.ศ. 1947

เมื่อจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น มีการทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แต่ตามมาตรา 73 ดังกล่าว ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องมาจากจักรพรรดิ จึงมีการขอพระราชานุมัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็พระราชทานให้ดังทรงแถลงไว้ในพระราชหัตถเลขาประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่คำปรารภระบุว่า มาจากการอนุมัติของปวงชนในชาติแทน เพื่อให้เป็นไปตามหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

ใกล้เคียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญสหรัฐ รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐธรรมนูญเมจิ