เนื้อหา ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_(ฉบับชั่วคราว)_พุทธศักราช_2557

รัฐธรรมนูญนี้มีทั้งหมด 48 มาตรา

รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดทางให้สถาปนาสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีชั่วคราวเพื่อรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (และต่อมาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างกว้างขวางและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่แน่นอนสำหรับงานเหล่านี้[6]

รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีชั่วคราว โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสมาชิก 200 คน มาจากการเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และเกินกึ่งหนึ่งเป็นนายทหาร[7] สภาปฏิรูปแห่งชาติมีสมาชิก 250 คน ซึ่งมาจากการเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเช่นกัน[8]

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังกำหนดการเตรียมรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ซึ่งจะมีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีสมาชิก 35 คน โดย 20 คนมาจากสภาปฏิรูป 5 คนมาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 5 คนมาจากคณะรัฐมนตรีชั่วคราว และ 5 คนมาจาก คสช.[3] สภาปฏิรูปจะอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญก่อนกราบทูลฯ พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยผ่านเป็นกฎหมาย[8] เดิมกำหนดให้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับร่างได้รับอนุมัติจากพลเรือนในการลงประชามติทั่วประเทศก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทว่า คสช. ไม่อนุมัติข้อกำหนดดังกล่าว และข้อกำหนดนี้ถูกลบไป[3] รัฐธรรมนูญชั่วคราวจะกำหนดให้ คสช. ควบคุมคณะรัฐมนตรีชั่วคราวและให้อำนาจ คสช. ออกคำสั่งใด ๆ ที่เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายเพื่อความมั่นคงของชาติ[7]

บทบัญญัติทั่วไป

มาตรา 1 และ 2 บัญญัติไว้ว่า ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวและปกครองแบบ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[9] มาตรา 3 กำหนดว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" มาตรา 4 รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของชาวไทย

มาตรา 5 ว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตราบที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 44

"ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว"

การใช้อำนาจตามมาตรานี้ยังปรากฏภายหลังจากที่ราชอาณาจักรไทยประเทศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในการออกคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ[10]เนื่องจาก มาตรา 265 บัญญัติว่า ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้ รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลัง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่

ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 และให้ถือว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป ให้นำความในมาตรา 263 วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม


ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญสหรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญเมจิ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_(ฉบับชั่วคราว)_พุทธศักราช_2557 http://www.abc.net.au/news/2014-07-26/thai-militar... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://prachatai.com/english/node/4260 http://www.prachatai.com/english/node/4244 http://www.prachatai.com/journal/2014/06/54116 http://www.isranews.org/isranews-news/item/30646-%... http://www.isranews.org/isranews-news/item/30767-r... http://www.thairath.co.th/content/438393 http://www.thairath.co.th/content/438402 http://www.thairath.co.th/content/438443