การปกครอง ของ รัฐบาลโชกุนคามากูระ

  • เซอิไทโชกุน (征夷大将軍) หรือ คะมะกุระ-โดะโนะ (鎌倉殿) หรือโชกุน เป็นประมุขของรัฐบาลโชกุน ได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักเกียวโต ในยุคคะมะกุระโชกุนเป็นเพียงหุ่นเชิดของชิกเก็งเท่านั้น เป็นตำแหน่งทางพิธีการเพื่อให้รัฐบาลโชกุนยังคงดำเนินต่อไปได้
  • ชิกเก็ง (執権) หรือผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน เป็นผู้นำของมันโดะโกะโระ และเป็นผู้มีอำนาจปกครองประเทศโดยแท้จริง มีตระกูลโฮโจเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดในตำแหน่ง
  • เร็งโช (連署) หรือรองผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน มีอำนาจรองลงมาจากชิกเก็ง มีขึ้นครั้งแรกในสมัยของชิกเก็งโฮโจ ยะซุโตะกิ
  • เฮียวโจ-ชู (評定衆) สภาประกอบด้วยโงะเกะนิงหรือเจ้าผู้ครองแคว้นทั้งหลาย มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายต่างๆของชิกเก็ง ในสมัยหลังมีอำนาจลดลงเนื่องจากชิกเก็งกุมอำนาจเผด็จการไว้แต่ผู้เดียว
  • ฮิกิซึเกะ-ชู (引付衆) สภามีหน้าที่ตัดสินคดีความต่างๆระหว่างโงะเกะนิง
  • มันโดะโกะโระ (政所) สภาประกอบด้วยขุนนางซะมุไร มีหน้าที่แนะนำและลงความเห็นนโยบายของโชกุน มีอำนาจเฉพาะในสมัยของโชกุนมินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ
  • มงชู-โจ (問注所) สภามีหน้าที่ตัดสินคดีความต่างๆ คล้ายกับฮิกิซึเกะ-ชูเพียงแต่เป็นของโชกุน
  • โงะเกะนิง (御家人) ซะมุไรผู้ถือครองที่ดินที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลโชกุนส่วนกลาง ได้รับผลประโยชน์จากผลผลิตในที่ดินของตน โดยมีหน้าที่ต้องให้กำลังพลและทรัพยากรในยามที่รัฐบาลกลางต้องการ ตามระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ประกอบด้วย
    • จิโต (地頭) ขุนนางซะมุไรผู้ปกครองที่ดินขนาดเล็ก
    • ชูโง (守護) ขุนนางซะมุไรผู้ปกครองแคว้นใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายจิโต
  • โระกุฮะระ ทังได (六波羅探題) เปรียบเสมือนเป็นสาขาสองของรัฐบาลโชกุนในเมืองเกียวโต ตั้งอยู่ในเขตโระกุฮะระ (六波羅) ของเมืองเกียวโต เกิดขึ้นหลังจากสงครามโจคิวเพื่อควบคุมราชสำนักเกียวโต มีผู้นำสองคนได้แก่ คิตะ-โนะ-คะตะ (北方) ดูและส่วนเหนือของเกียวโต และ มินะมิ-โนะ-คะตะ (南方) ดูแลส่วนใต้ของเกียวโต
  • ชิงเซย์-บุเงียว (鎮西奉行) ผู้ปกครองชิงเซย์ หรือเกาะคีวชู หลังจากการรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล จึงได้มีการยกระดับขึ้นเป็น ชิงเซย์-ทังได (鎮西探題)
  • มิอุชิบิโตะ (御内人) คนรับใช้ประจำตระกูลโฮโจ เรืองอำนาจขึ้นมาในช่วงปลายสมัยคะมะกุระ เช่น ไทระ โนะ โยะริซึนะ นะงะซะกิ เอ็งกิ

ใกล้เคียง