ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย ของ รัฐศาสตร์

การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่าง ๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือ รปศ.) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแห่งที่สาม คือ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนในระดับปริญญาโทและเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ในคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ต่อมาได้มีมาเปิดคณะรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเอกชน เช่น มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ซึ่งเปิดได้ 6 วิทยาเขตด้วยกัน ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ นครศรีธรรมราช โดยเปิดสอนการปกครองส่วนท้องถิ่น สมัครออนไลน์ หรือ ติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ ๐๙๕-๗๔๙๕๙๑๖

ข้อสังเกตคือในยุคเริ่มแรกนั้นรัฐศาสตร์ไทยนั้นเน้นผลิตบัณฑิตเข้าสู่วงราชการ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมาจึงเป็นที่มาของการใช้ตราสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชา[ต้องการอ้างอิง] และอีกส่วนหนึ่งคือการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ไทยในยุคแรก อันที่จริงเป็นการเรียนการสอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์เพื่อสร้างข้าราชการป้อนให้กับรัฐไทย หรือก็คือสอนวิชาบริหารจัดการสาธารณะภายได้ชื่อรัฐศาสตร์ทำให้ในเวลาต่อมาเกิดความสับสนในวงวิชาการว่ารัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตามในสังคมไทยมีการศึกษารัฐศาสตร์กระแสหนึ่งซึ่งเริ่มมีอิทธิพลขึ้นมากหลัง พ.ศ. 2526 เรียกว่ารัฐศาสตร์ทวนกระแส[13] ซึ่งโดยภาพรวมก็ไม่ต่างแนวหลังพฤติกรรมศาสตร์ในตะวันตก อ่านเพิ่มเติม