ราชรถน้อย
ราชรถน้อย

ราชรถน้อย

ราชรถน้อย เป็นราชรถทรงบุษบกจำนวน 3 องค์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ราวปี พ.ศ. 2338 ทำหน้าที่ประกอบควบคู่ไปกับ พระมหาพิชัยราชรถ พระเวชยันตราชรถ ได้แก่ องค์ที่หนึ่งเป็นราชรถที่สมเด็จพระสังฆราชประทับ ทรงสวดนำกระบวนพระมหาพิชัยราชรถ องค์ที่สองเป็นราชรถโยงผ้าจากพระบรมโกศ และองค์ที่สามเป็นรถสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ประทับ เพื่อทรงโปรยทานพระราชทานแก่ประชาชนที่มาเฝ้ากราบพระบรมศพตามทางสู่พระเมรุมาศ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกเลิกประเพณีโยงผ้าและโปรยทาน ปัจจุบันราชรถน้อย จึงใช้เพียงเป็นรถพระสงฆ์อ่านพระอภิธรรมนำราชรถทรงพระบรมโกศเท่านั้น[4]ราชรถน้อย มีรูปแบบคล้ายคลึงกับพระมหาพิชัยราชรถ และพระเวชยันตราชรถ เกือบทุกประการเพียงแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก โดยส่วนตัวรถที่แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก คานที่ยื่นออกมาเป็นรูปนาคราช บนราชรถมีบุษบกตั้งอยู่เช่นเดียวกัน ในราชรถน้อยหนึ่งองค์ ใช้จำนวนพลฉุดชัก 74 นาย คือ ด้านหน้า 56 นาย และด้านหลัง 18 นาย[5]นอกจากนี้ ราชรถน้อยยังมีการเรียกชื่อที่ต่างออกไปตามหน้าที่ขงแต่ละองค์ คือองค์ที่ทำหน้าที่เป็น รถพระนำ (อ่านพระอภิธรรมนำกระบวน) เรียกอย่างย่อว่า “รถสวด” องค์ที่ทำหน้าที่เป็นรถโปรยข้าวตอกเรียกอย่างย่อว่า “รถโปรย” และ สำหรับองค์ที่โยงภูษาโยง จากพระบรมโกศ เรียกอย่างย่อว่า “รถโยง”[6]

ราชรถน้อย

น้ำหนัก
  • องค์ที่หนึ่ง (รหัส 9782) 3.85 ตัน
  • องค์ที่สอง (รหัส 9783) 3.65 ตัน
  • องค์ที่สาม (รหัส 9784) 3.65 ตัน[2][3]
ประเภท ราชรถ[1]
ความกว้าง
  • องค์ที่หนึ่ง (รหัส 9782) 3.64 เมตร
  • องค์ที่สอง (รหัส 9783) 3.66 เมตร
  • องค์ที่สาม (รหัส 9784) 3.86 เมตร[2][3]
เริ่มผลิตเมื่อ พ.ศ. 2338 (จำนวน 3 องค์)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ผู้ออกแบบ ช่างสิบหมู่
ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร
ความยาว
  • องค์ที่หนึ่ง (รหัส 9782) 12.95 เมตร
  • องค์ที่สอง (รหัส 9783) 12.95 เมตร
  • องค์ที่สาม (รหัส 9784) 12.95 เมตร[2][3]
ความสูง
  • องค์ที่หนึ่ง (รหัส 9782) 6.30 เมตร
  • องค์ที่สอง (รหัส 9783) 6.30 เมตร
  • องค์ที่สาม (รหัส 9784) 6.84 เมตร[2][3]
โครงสร้าง ทรงบุษบก ย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน 5 ชั้น
รุ่นก่อนหน้า พระมหาพิชัยราชรถ
พระเวชยันตราชรถ