ราชวงศ์จาลุกยะ
ราชวงศ์จาลุกยะ

ราชวงศ์จาลุกยะ

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งราชวงศ์จาลุกยะ (กันนาดา: ಚಾಲುಕ್ಯರು, อังกฤษ: Chalukya dynasty) คือราชวงศ์อินเดียผู้ปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ในอินเดียใต้และอินเดียกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12แม้ว่าความเห็นในเรื่องต้นกำเนิดของราชวงศ์จาลุกยะจะมีด้วยกันหลายทฤษฎีแต่โดยทั่วไปแล้วต่างก็เห็นพ้องกันว่าผู้ก่อตั้งจักรวรรดิที่บาดามีเป็นผู้ที่มาจากบริเวณรัฐกรณาฏกะ[1][2][3][4][5][6][7][8][9][10] ในช่วงที่มีอำนาจจาลุกยะปกครองแบ่งการปกครองเป็นสามราชวงศ์ที่ต่างกันแต่มีความสัมพันธ์กัน ราชวงศ์แรกที่สุดมีชื่อว่า “บาดามีจาลุกยะ” (Badami Chalukyas) ปกครองจากเมืองหลวงวาตาปี (บาดามีปัจจุบัน) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 บาดามีจาลุกยะเริ่มแสดงตัวเป็นอิสระเมื่อราชอาณาจักรพานาวสี (en:Banavasi) ของราชวงศ์กทัมพะ (en:Kadamba Dynasty) เริ่มเสื่อมโทรมลง และมารุ่งโรจน์ในรัชสมัยของปุละเกศีที่ 2 (en:Pulakesi II) หลังจากที่ปุละเกศีที่ 2 เสด็จสวรรคต จาลุกยะตะวันออก (en:Eastern Chalukyas) ก็แยกตัวเป็นราชอาณาจักรอิสระในเด็คคาน (Deccan) จาลุกยะตะวันออกปกครองจากเมืองหลวง เวงคิ จนกระทั่งถึงจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทางตะวันตกของเด็คคานการเรืองอำนาจของราษฏฺรกูฏ (Rashtrakutas) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็ลบอำนาจของบาดามีจาลุกยะก่อนที่จะได้รับการฟื้นฟูโดยจาลุกยะตะวันตก (Western Chalukyas) ผู้เป็นผู้สืบเชื้อสายในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 จาลุกยะตะวันตกปกครองจากกัลยานี (ปัจจบีนคือเมืองพสภะกัลยาณ) จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12การปกครองของราชวงศ์จาลุกยะเป็นการปกครองในยุคที่สำคัญของประวัติศาสตร์ของอินเดียใต้และเป็นยุคทองของรัฐกรณาฏกะ แนวโน้มทางการเมืองทางตอนใต้ของอินเดียเปลี่ยนจากราชอาณาจักรขนาดเล็กมาเป็นการก่อตั้งจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่เริ่มโดยบาดามีจาลุกยะ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อินเดียใต้เริ่มรวมดินแดนทั้งภูมิภาคตั้งแต่แม่น้ำกาเวรี (Kaveri) ไปจนถึง แม่น้ำนัมมทา (Narmada) ความรุ่งเรืองของจักรวรรดินำมาซึ่งระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ การค้าขายกับต่างประเทศ และการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "สถาปัตยกรรมจาลุกยะ" วรรณคดีกันนาดาที่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ได้รับการต้อนรับโดยจาลุกยะตะวันตกตามแบบฉบับของเชนและวีรไศวะ (Veerashaiva) เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็เป็นการกำเนิดของวรรณคดีเตลูกู (Telugu literature) ภายใต้การอุปถัมภ์ของจาลุกยะตะวันออก