ราชวงศ์เซลจุค
ราชวงศ์เซลจุค

ราชวงศ์เซลจุค

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งราชวงศ์เซลจุค หรือ เซลจุคตุรกี[1] (อังกฤษ: Seljuq dynasty หรือ Seljuq Turks) “เซลจุค” (หรือ “Seldjuks” “Seldjuqs” “Seljuks” ตุรกี: Selçuklular, เปอร์เซีย: سلجوقيان‎ Ṣaljūqīyān; เปอร์เซีย: سلجوق Saljūq หรือ السلاجقة al-Salājiqa‎) เป็นราชวงศ์เทอร์โค-เปอร์เชีย[2][3] ซุนนีมุสลิมผู้ปกครองบางส่วนของทวีปเอเชียกลางและตะวันออกกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ราชวงศ์เซลจุคก่อตั้งจักรวรรดิเซลจุคซึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีดินแดนตั้งแต่อานาโตเลียไปจนถึงเปอร์เชียและเป็นฝ่ายปฏิปักษ์ในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ราชวงศ์มีที่มาจากกลุ่มสมาพันธ์ของชนเทอร์โคมันของทางตอนกลางของเอเชีย ซึ่งเป็นการเริ่มการขยายอำนาจของเทอร์กิคในตะวันออกกลาง เมื่อเปอร์เชียขยายตัวเข้ามาเซลจุคก็รับวัฒนธรรม[4][5][6] และภาษาเข้ามาเป็นของตนเอง[7][8] และมีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมเทอร์โค-เปอร์เชีย ใน “วัฒนธรรมเปอร์เชียที่รับโดยประมุขของเทอร์กิค”[9] ในปัจจุบันเซลจุคเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์อันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรม, ศิลปะ, วรรณคดี และ ภาษาเปอร์เชีย[7][8][10] และบางท่านก็ถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษผู้นำทางวัฒนธรรมของเตอร์กตะวันตก – ผู้ที่ในปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาเซอร์ไบจาน, ตุรกี และ เติร์กเมนิสถาน[ต้องการอ้างอิง]