ผลการสืบค้น ของ รายงานอาหาร_โภชนาการ_กิจกรรมทางกาย_และการป้องกันมะเร็ง:_ทัศนมิติโลก

ผลการสืบค้นทั่วไปของรายงานก็คือว่า บุคคลสามารถลดความเสี่ยงต่อมะเร็งโดยการรับประทานอาหารให้ถูกสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นปกติ และธำรงน้ำหนักกายให้เหมาะสม รายงานแสดงว่า ไขมันร่างกายสัมพันธ์กับมะเร็งอย่างมีกำลังกว่าที่เคยคิดมาก่อน[2]

คณะทำงานให้คำแนะนำ 10 อย่างเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง คือ

  1. ให้ดำรงความผอม - ให้ผอมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายในพิสัยของน้ำหนักที่ปกติ[3]
  2. ให้ออกกำลังกาย (Physical Activity) - ให้มีกิจกรรมอย่างไม่อยู่เฉย ๆ โดยเป็นส่วนของชีวิตประจำวัน เพราะว่า มีรายงานว่าการออกกำลังกายเป็นปกติจะช่วยรักษาระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ และฮอร์โมนบางอย่างถ้าอยู่ในระดับสูงจะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง นอกจากนั้นแล้ว การออกกำลังกายยังสามารถช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า บุคคลควร "ตั้งเป้าหมายเพื่อจะมีกิจกรรมออกกำลังพอสมควรเป็นเวลา 60 นาทีหรือมากกว่านั้น และกิจกรรมที่ออกกำลังอย่างแข็งขันเป็นเวลา 30 นาทีหรือมากกว่านั้น"[4]
  3. จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มน้ำหนัก - คือให้จำกัดบริโภคอาหารมีพลังงานสูง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหวาน ๆ แม้ว่าการหลีกเลี่ยงการบริโภคแคลอรีเป็นเรื่องที่ยากเมื่อควบคุมน้ำหนัก แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญมากในการลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตมามาก (คืออาหารสำเร็จรูป) มักจะมีน้ำตาลและไขมันมากกว่า เพราะว่า การผลิตมักจะเพิ่มรสชาติของอาหาร ทำให้มีระดับแคลอรีสูงขึ้น การเช็คขนาดและปริมาณการบริโภคอาหารสำเร็จรูปแต่ละวันมักจะช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง และอาหารที่มีอัตราแคลอรีต่ำมักจะมีใยอาหารและน้ำที่ดีต่อสุขภาพ[5]
  4. ทานอาหารจากพืช - ให้รับประทานอาหารจากพืชโดยมาก โดยบริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี และถั่ว อาหารเหล่านี้มีใยอาหารมากและสารอาหารมากซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง[6]
  5. จำกัดเนื้อสัตว์ - ให้จำกัดการบริโภคเนื้อแดง (คือเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงเมื่อดิบ [red meat] เช่นเนื้อวัว หมู หรือแกะ) และหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิต เช่น แฮม เบคอน ฮอตดอก และไส้กรอก (หรือกุนเชียง) เพื่อที่จะลดความเสี่ยงมะเร็ง บุคคลไม่พึงบริโภคเนื้อเนื้อแดงเกินครึ่งกิโล (เมื่อสุก) ต่ออาทิตย์ เนื้อมีสีแดงก็เพราะมีธาตุเหล็ก (ประเภท Heme) และถ้าบริโภคเป็นจำนวนมาก ก็สามารถจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ได้ และเนื้อที่ผ่านกระบวนการกันเน่า เช่น การอบควัน การหมักเกลือ เป็นต้น ก็มีหลักฐานแล้วว่ามีสารก่อมะเร็ง[7]
  6. จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เช่นเหล้าหรือเบียร์) ให้จำกัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ AICR แม้ว่าจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิง แต่ก็ให้ข้อสังเกตว่า การดื่มจำนวนน้อยอาจมีผลดีในการลดการเกิดของโรคหัวใจ ชายและหญิงควรจะจำกัดการดื่มให้เหลือเพียง 2 และ 1 แก้วต่อวันตามลำดับ แต่ว่าเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หลักฐานก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงนัยว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งบางประเภท ซึ่งรวมทั้งมะเร็งคอหอย กล่องเสียง และหลอดอาหาร นอกจากนั้นแล้ว ยังมีงานศึกษาที่แสดงนัยว่า การเว้นดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย[8]
  7. จำกัดเกลือ - ให้จำกัดการบริโภคเกลือให้น้อยกว่า 2.4 กรัมต่อวัน เพราะว่า ระดับเกลือที่สูงพบว่า เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร ตามรายงานนี้ "คนโดยมากในสหรัฐอเมริกาปัจจุบันบริโภคเกลือเกิน 2.4 กรัมต่อวัน" และร่างกายความจริงก็ต้องการเกลือน้อยกว่านี้ แม้ว่าอาหารโดยมากจะมีเกลือสูงแต่ก็อาจจะไม่รู้สึกเค็ม ดังนั้นก็จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร รายงานแนะนำว่า ให้เช็คปริมาณเกลือในอาหารกระป๋องก่อนที่จะซื้อมาบริโภค แม้แต่อาหารประเภทธัญพืชและอาหารสำเร็จรูปก็ควรจะเช็คเช่นกัน[9]
  8. ไม่ใช้อาหารเสริมโดยมาก - ควรตั้งใจให้ได้สารอาหารครบ (เช่นวิตามินและแร่ธาตุ) โดยการบริโภคอาหารอย่างเดียว ไม่ควรใช้อาหารเสริมเพื่อป้องกันมะเร็ง เพราะว่า การใช้อาหารเสริมในระดับสูงมีผลต่าง ๆ กันต่อความเสี่ยงมะเร็ง และมีงานวิจัยที่แสดงว่าอาหารเสริมอาจจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล แม้ว่าจะต้องมีงานศึกษาเพิ่มในเรื่องนี้ ให้สังเกตว่ามีบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่อาจได้ประโยชน์จากการใช้อาหารเสริม เช่น หญิงที่ต้องการมีครรภ์ หญิงมีครรภ์ เด็กเล็ก ๆ และคนชราบางพวก[10]
  9. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ให้แม่ให้นมลูก ให้ลูกดื่มนมของแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือนแล้วจึงค่อยเพิ่มอาหารอย่างอื่น เพราะว่า การให้นมลูกช่วยป้องกันแม่จากโรคมะเร็งเต้านม และช่วยป้องกันทารกไม่ให้มีน้ำหนักเกินซึ่งอาจจะนำไปสู่ความอ้วนในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง[11]
  10. ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งให้ทำตามข้อแนะนำทั้ง 10 อย่าง เพื่อป้องกันโรคมะเร็ง [12]

ใกล้เคียง

รายงานพิเศษว่าด้วยภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ. รายงานผู้ป่วย รายงานเฮิร์ช รายงานอาหาร โภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการป้องกันมะเร็ง: ทัศนมิติโลก รายงานความสุขโลก รายงานประจำปี รายงานกรุงบูดาเปสต์เรื่องการประกันความมั่นคง รายงานค่าใช้จ่าย รายงานการประชุม รายการรหัสไปรษณีย์ไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายงานอาหาร_โภชนาการ_กิจกรรมทางกาย_และการป้องกันมะเร็ง:_ทัศนมิติโลก http://www.economist.com/node/10062421 http://www.dcscience.net/?p=1435#more-1435 http://www.aicr.org/assets/docs/pdf/reports/Second... http://www.aicr.org/reduce-your-cancer-risk/recomm... http://www.aicr.org/reduce-your-cancer-risk/recomm... http://www.aicr.org/reduce-your-cancer-risk/recomm... http://www.aicr.org/reduce-your-cancer-risk/recomm... http://www.aicr.org/reduce-your-cancer-risk/recomm... http://www.aicr.org/reduce-your-cancer-risk/recomm... http://www.aicr.org/reduce-your-cancer-risk/recomm...