ความผิดพลาดและความเอนเอียงทางความจำ ของ รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

ในสาขาจิตวิทยาและประชานศาสตร์ ความเอนเอียงทางความจำ (memory bias) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ช่วยหรือขัดการระลึกถึงความทรงจำหนึ่ง ๆ (เช่นช่วยให้ระลึกถึงความจำนั้นได้ หรือช่วยลดเวลาการระลึก หรือว่าทั้งสองอย่าง) หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสิ่งที่จำได้ มีประเภทต่าง ๆ รวมทั้ง

ชื่อคุณลักษณะ
Bizarreness effect (ปรากฏการณ์ความแปลกประหลาก)เรื่องแปลกประหลาดจำได้ง่ายกว่าเรื่องธรรมดา
Choice-supportive bias (ความเอนเอียงสนับสนุนสิ่งที่เลือก)เป็นความโน้มเอียงที่จะนึกถึงสิ่งที่เลือกว่าดี เกินความเป็นจริง[84]
Change bias (ความเอนเอียงเรื่องสิ่งที่เปลี่ยน)เมื่อต้องลงทุนลงแรงเพื่อเปลี่ยนอะไรอย่างหนึ่ง จะจำการกระทำนั้นว่า ทำได้ยากเกินความเป็นจริง[85][[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]]
Childhood amnesia (ภาวะเสียความจำในวัยเด็ก)จำเหตุการณ์ที่เกิดก่อนวัย 4 ขวบได้น้อย
Conservatism หรือ Regressive biasเป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงค่าสูง เช่นค่าความถี่ ค่าความน่าจะเป็น ว่าต่ำจากความเป็นจริง และระลึกถึงค่าต่ำว่าสูงจากความเป็นจริง[24][25]
Consistency bias (ความเอนเอียงเพื่อให้คงเส้นคงวา)ระลึกผิด ๆ ถึงทัศนคติและพฤติกรรมในอดีตของตน ว่าเหมือนทัศนคติและพฤติกรรมในปัจจุบัน[86]
cue-dependent forgetting (การหลงลืมขึ้นอยู่กับตัวช่วย)ระบบประชานและความจำขึ้นอยู่กับตัวบริบท (คือตัวช่วยให้นึกถึงสิ่งนั้น) ดังนั้น ความทรงจำที่ไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน จะระลึกถึงได้ยากกว่าความทรงจำที่เข้า (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาและความแม่นยำในการระลึกถึงความจำเกี่ยวกับที่ทำงาน จะแย่กว่าเมื่อนึกถึงที่บ้าน และนัยตรงกันข้ามก็จะเหมือนกัน)
Cross-race effect (ปรากฏการณ์ข้ามผิวพันธุ์)เป็นความโน้มเอียงที่คนผิวพันธุ์หนึ่งประสบความลำบากในการจำบุคคลที่เป็นอีกผิวพันธุ์หนึ่ง
Cryptomnesiaเป็นความผิดพลาดในการถือเอาความทรงจำว่าเป็นจินตนาการ เพราะว่า ไม่เกิดความรู้สึกทางอัตวิสัยว่ามันเป็นความทรงจำ[85]
Egocentric bias (ความเอนเอียงเห็นแก่ตัว)การระลึกถึงอดีตเข้าข้างตนเอง เช่น ระลึกถึงคะแนนสอบว่าดีกว่า หรือว่า จับปลาได้ตัวใหญ่กว่าความจริง
Fading affect bias (ความเอนเอียงโดยความรู้สึกจาง)เป็นความเอนเอียงที่อารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความทรงจำที่ไม่ดี จางหายไปเร็วกว่าอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ดี ๆ[87]
Generation effect (ปรากฏการณ์คิดเอง)ข้อมูลที่คิดเองจำได้ดีที่สุด เช่น บุคคลสามารถระลึกถึงคำพูดของตน ได้ดีกว่าคำพูดคล้าย ๆ กันของคนอื่น
Google effect (ปรากฏการณ์กูเกิล)เป็นความโน้มเอียงที่จะลืมข้อมูลที่สามารถหาได้ง่ายออนไลน์โดยใช้เสิร์ชเอนจินทางอินเทอร์เน็ตเช่นกูเกิล
Hindsight bias (ความเอนเอียงการเข้าใจปัญหาย้อนหลัง)บางครั้งเรียกว่าปรากฏการณ์ "I-knew-it-all-along" (ฉันรู้อยู่ก่อนแล้ว) เป็นความเอนเอียงที่เห็นเหตุการณ์ในอดีตว่า พยากรณ์ได้[42] แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลจริง ๆ หรือมีน้อยพอที่จะพยากรณ์ได้จริง ๆ
Humor effect (ปรากฏการณ์เรื่องตลก)เรื่องตลกจำได้ง่ายกว่าเรื่องไม่ตลก ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นเรื่องตลกที่ไม่เหมือนใคร หรือว่าเพราะต้องประมวลข้อมูลทางประชานมากกว่าเพื่อที่จะเข้าใจ หรือว่าเพราะทำให้เกิดสภาวะตื่นตัวทางอารมณ์[ต้องการอ้างอิง]
Illusory truth effect (ปรากฏการณ์ความจริงเทียม) หรือ Availability cascadeเป็นกระบวนการที่เสริมกำลังในตัว ที่ความเชื่อในสังคมดูเหมือนจะเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเกิดการพูดการกล่าวถึงซ้ำ ๆ กัน (เหมือนกับความเชื่ออย่างหนึ่งของเด็กว่า "พูดอะไรซ้ำ ๆ กัน นาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นจริง")[13]
Illusory correlation (สหสัมพันธ์เทียม)การเห็นอย่างผิดพลาดว่า เหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่สัมพันธ์กันมีความสัมพันธ์กัน[47][48]
Leveling and Sharpening (การทำให้เรียบและการทำให้คม)ความจำที่บิดเบือนเกิดขึ้นจากการสูญเสียรายละเอียดเมื่อระลึกถึงเมื่อภายหลังนาน ๆ (เป็นการทำให้เรียบ) บ่อยครั้งเกิดขึ้นพร้อมกับ ๆ การระลึกถึงรายละเอียดอะไรบางอย่างได้ดีขึ้น (การทำให้คม) ซึ่งกลายเป็นเรื่องสำคัญเมื่อเทียบกับรายละเอียดหรือลักษณะที่สูญเสียไป ความเอนเอียงสองอย่างนี้อาจจะมีกำลังขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลา โดยการระลึกถึงหรือกล่าวถึงความจำนั้นบ่อย ๆ[88]
Levels-of-processing effect (ปรากฏการณ์ประมวลหลายระดับ)ระดับการประมวลสิ่งเร้าทางใจต่าง ๆ ทำให้สามารถระลึกถึงสิ่งเร้านั้นได้ต่าง ๆ กัน การประมวลที่ลึกซึ้ง ทำให้ระลึกได้ดีกว่า[89]
List-length effect (ปรากฏการณ์จำนวนรายการ)เมื่อมีรายการที่ยาวขึ้นเรื่อย ๆ จะจำรายการได้ถูกต้องในอัตราที่น้อยกว่า และจำผิดในอัตราที่มากกว่า แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่คัดค้านว่าปรากฏการณ์นี้ไม่มีจริงเมื่อควบคุมตัวแปรกวน[90]
Misinformation effect (ปรากฏการณ์ข้อมูลผิด)ความจำจะแม่นยำน้อยลงถ้ามี post-event information คือข้อมูลเกี่ยวกับความจำหลังเหตุการณ์นั้น ที่ผิดพลาด ซึ่งจะเป็นตัวกวนความจำนั้น[91]
Next-in-line effect (ปรากฏการณ์คนต่อไปในแถว)เป็นแนวโน้มที่บุคคลที่จะพูดต่อไปในกลุ่ม สามารถระลึกถึงคำของคนที่พูดก่อน ๆ ได้น้อยลง เมื่อต้องพูดต่อ ๆ กัน[92]
Peak-end rule (กฎยอดและสุด)เป็นแนวโน้มที่จะประเมินความรู้สึกถึงเหตุการณ์หนึ่งโดยไม่รวมคุณค่าของประสบการณ์ทั้งหมด แต่ประเมินโดยค่าความรู้สึกที่จุดยอด (ไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์) และค่าความรู้สึกในที่สุดของเหตุการณ์
Picture superiority effect (ปรากฏการณ์ความเหนือกว่าของภาพ)เป็นความโน้มเอียงที่แนวคิดที่ศึกษาโดยใช้รูปภาพจะสามารถระลึกถึงได้ง่ายกว่าและบ่อยกว่า แนวคิดที่ศึกษาโดยอ่านแค่บทความ[93][94][95][96][97][98]
Positivity effect (ปรากฏการณ์ข้อมูลบวก)เป็นแนวโน้มที่ผู้สูงวัยจะชื่นชอบข้อมูลเชิงบวกมากกว่าข้อมูลเชิงลบในความทรงจำ
Primacy effect, Recency effect และ Serial position effectเป็นแนวโน้มที่จะระลึกถึงรายการที่อยู่ท้าย ๆ ได้ดีที่สุด ตามมาด้วยรายการที่อยู่ต้น ๆ ส่วนรายการที่อยู่กลาง ๆ จะจำได้น้อยที่สุด[99]
Processing difficulty effect (ปรากฏการณ์ความยากในการประมวล)ข้อมูลที่ใช้เวลามากกว่าในการอ่านและคิดถึงนานกว่า (คือประมวลอย่างยากเย็นกว่า) จะระลึกถึงได้ง่ายกว่า[100] (ดู Levels-of-processing effect)
Reminiscence bump (การประทุของความจำเหตุการณ์ในอดีต)เป็นแนวโน้มของผู้ใหญ่ที่จะระลึกถึงความจำในช่วงวัยรุ่นและเริ่มต้นวัยผู้ใหญ่ได้ดีกว่าช่วงชีวิตอื่น ๆ[101]
Rosy retrospection (การระลึกถึงความหลังเป็นสีชมพู)เป็นแนวโน้มในการระลึกถึงอดีตว่าดีเกินกว่าที่เป็นจริง
Self-relevance effect (ปรากฏการณ์ความสัมพันธ์กับตน)ความจำเกี่ยวกับตนเองระลึกได้ง่ายกว่าความจำเรื่องเดียวกันของคนอื่น
Spacing effect (ปรากฏการณ์เว้นว่าง)เป็นแนวโน้มที่จะระลึกถึงข้อมูล ถ้าได้ข้อมูลนั้นซ้ำ ๆ กันแต่ห่างกัน ได้ดีกว่าถ้าซ้ำโดยไม่ห่าง
Spotlight effect (ปรากฏการณ์สปอร์ตไลท์)เป็นแนวโน้มที่จะประเมินว่าคนอื่นเห็นรูปร่างลักษณะท่าทางพฤติกรรมของตนเกินความจริง
Suffix effect (ปรากฏการณ์เสริมท้าย)recency effect คือการจำข้อสุดท้าย ๆ ของรายการได้ดีที่สุด มีระดับลดลงถ้ามีรายการเสริมท้ายที่ไม่ต้องจำเพื่อระลึกภายหลัง[102][103]
Suggestibility (การถูกชักชวนได้ง่าย)เป็นการอ้างแหล่งข้อมูลผิดอย่างหนึ่งที่ความคิดที่เสนอโดยผู้ถาม กลายเป็นความทรงจำของผู้ตอบ
Telescoping effect (ปรากฏการณ์กล้องโทรทรรศน์)เป็นความโน้มเอียงที่จะจำเหตุการณ์เร็ว ๆ นี้ว่าอยู่ในอดีตไกลเกินจริง และเหตุการณ์ที่ไกลออกไปว่าอยู่ในอดีตใกล้เกินจริง ดังนั้น เหตุการณ์เร็ว ๆ นี้จึงปรากฏเหมือนอยู่ไกล และเหตุการณ์ที่อยู่ในอดีตไกลดูเหมือนจะใกล้
Testing effect (ปรากฏการณ์ทดสอล)เป็นแนวโน้มที่จะจำข้อมูลที่พึ่งอ่านได้ดีกว่าถ้าเขียนซ้ำ แทนที่จะอ่านใหม่[104]
Tip of the tongue phenomenon (ปรากฏการณ์อยู่ปลายลิ้น)เมื่อบุคคลสามารถที่จะระลึกถึงบางส่วนของข้อมูลหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันได้ แต่ไม่สามารถระลึกถึงข้อมูลทั้งหมดได้อย่างน่ากลุ้มใจ นี่เชื่อกันว่าเป็นตัวอย่างของความขัดข้องที่เกิดขึ้นเมื่อระลึกถึงความทรงจำที่คล้าย ๆ กันได้หลายชิ้น ซึ่งเป็นตัวกวนกันและกัน[85]
Verbatim effect (ปรากฏการณ์คำต่อคำ)ความโน้มเอียงที่จะระลึกถึง แก่นสารสำคัญ (gist) ของสิ่งที่คนพูด ได้ดีกว่าระลึกถึงข้อความคำต่อคำ[105] นี่เป็นเพราะความทรงจำเป็นตัวแทน (representation) เหตุการณ์ ไม่ใช่เป็นก๊อปปี้ของเหตุการณ์
Von Restorff effect (ปรากฏการณ์วอนเรสตอล์ฟ)เป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงรายการที่เด่นได้ดีกว่ารายการอื่น ๆ[106]
Zeigarnik effect (ปรากฏการณ์เซการ์นิก)เป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงงานที่ยังไม่เสร็จหรือพักไปในระหว่าง ได้ดีกว่างานที่ทำเสร็จแล้ว

ใกล้เคียง

รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน) รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รายชื่อสัตว์ รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ) รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร รายชื่อตัวละครในวันพีซ รายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูร รายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต รายชื่อตัวละครในนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน http://books.google.com/books?id=9TUIAAAAQBAJ&pg=P... http://books.google.com/books?id=JRd7RZzzw_wC&pg=P... http://books.google.com/books?id=Vv1vvlIEXG0C&pg=P... http://books.google.com/books?id=sILajOhJpOsC&pg=P... http://books.google.com/books?id=zQ10cPSz1lMC&pg=P... http://www.human-nature.com/nibbs/04/gelman.html http://www.investopedia.com/terms/h/halo-effect.as... http://journals.lww.com/academicmedicine/Fulltext/... http://opinionator.blogs.nytimes.com/2010/06/20/th... http://www.psmag.com/culture/theres-a-name-for-tha...