ความเอนเอียงทางสังคม ของ รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

ความเอนเอียงเหล่านี้โดยมากจัดเป็น attributional bias (ควาเอนเอียงในการอ้างเหตุ)

ชื่อคุณลักษณะ
Actor-observer bias (ความเอนเอียงผู้กระทำ-ผู้สังเกตการณ์)เป็นความโน้มเอียงที่จะอธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นโดยเน้นอิทธิพลทางบุคลิกภาพมากเกินไป และเน้นอิทธิพลของสถานการณ์น้อยเกินไป (ดู Fundamental attribution error ด้วย) และที่จะอธิบายพฤติกรรมของตนโดยนัยตรงกันข้าม คือเน้นอิทธิพลของสถานการณ์มากเกินไป และเน้นอิทธิพลของบุคลิกภาพน้อยเกินไป
Defensive attribution hypothesis (สมมติฐานการอ้างเหตุแบบป้องกันตัว)ยกโทษให้กับคนทำผิดมากขึ้น เมื่อผลที่ได้เสียหายมากขึ้น หรือว่าเมื่อผู้ตัดสินมีความคล้ายคลึงทางส่วนตัวหรือทางสถานการณ์กับผู้รับเคราะห์มากขึ้น
Dunning-Kruger effect (ปรากฏการณ์ดันนิ่ง-ครูเกอร์)ปรากฏการณ์ที่คนไร้ความสามารถไม่รู้ว่าตนไร้ความสามารถ เพราะไม่มีทักษะที่จะแยกแยะระหว่างความสามารถกับความไร้ความสามารถ แต่ว่า ความสามารถจริง ๆ อาจทำให้มั่นใจในตนเองน้อยลง เพราะว่าคนมีความสามารถอาจจะนึกอย่างผิด ๆ ว่า คนอื่นมีความเข้าใจเท่าเทียมกัน[72]
Egocentric bias (ความเอนเอียงเห็นแก่ตัว)เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเรียกร้องความดีความชอบให้ตนเองทั้ง ๆ ที่เป็นผลงานร่วมกับคนอื่น ในระดับที่มากกว่าคนสังเกตการณ์จะเห็นด้วย
Extrinsic incentives bias (ความเอนเอียงเห็นผู้อื่นมีสิ่งจูงใจภายนอก)จุดนี้เป็นข้อยกเว้นของ fundamental attribution error เมื่อบุคคลเห็นผู้อื่นว่ามีแรงจูงใจภายนอก (คือสถานการณ์เช่น การเงิน) แต่เห็นตัวเองว่ามีแรงจูงใจภายใน (เช่น เพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ)
False consensus effect (ปรากฏการณ์ความเห็นพ้องเทียม)เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลประเมินระดับการเห็นพ้องต้องกันกับตนเองของคนอื่นสูงเกินไป[73]
Forer effect (ปรากฏการณ์ฟอเรอร์) หรือ Barnum effect (ปรากฏการณ์บาร์นัม)สังเกตการณ์ที่เห็นได้ว่า บุคคลจะให้คะแนนว่ามีความแม่นยำสูง สำหรับคำพรรณนาบุคลิกของตนที่เชื่อว่าทำเฉพาะให้แก่ตน แต่ว่าความจริงเป็นคำที่คลุมเครือและทั่วไปพอที่จะกล่าวได้ถึงคนอื่นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถใช้เป็นคำอธิบายส่วนหนึ่งเกี่ยวกับความนิยมชมชอบความเชื่อหรือความคิดบางอย่างเช่น โหราศาสตร์ การบอกโชคชะตา การดูลายมือ และการทดสอบบุคลิกบางอย่าง
Fundamental attribution error (ความผิดพลาดในการอ้างเหตุพื้นฐาน)เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะอธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นโดยอ้างเหตุบุคลิกภาพมากเกินไป ในขณะที่อ้างเหตุเกี่ยวกับบทบาทและอิทธิพลของสถานการณ์น้อยเกินไป (สัมพันธ์กับ actor-observer bias, group attribution error, positivity effect, และ negativity effect)[74]
Group attribution error (ความผิดพลาดโดยการอ้างเหตุรวมกลุ่ม)เป็นความเชื่อที่เอนเอียงว่า ลักษณะของบุคคลหนึ่งในกลุ่ม เป็นลักษณะของบุคคลทั้งกลุ่ม หรือความโน้มเอียงที่จะอ้างเหตุว่า การตัดสินใจของกลุ่มบ่งถึงความชอบใจของสมาชิกในกลุ่ม แม้ว่าจะมีข้อมูลที่ส่องถึงนัยตรงกันข้าม
Halo effect (ปรากฏการณ์วงรัศมี)เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ความรู้สึกทั่วไปเกี่ยวกับบุคคล บริษัท ยี่ห้อ หรือผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและความคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นในด้านอื่น ๆ[75][76]
Illusion of asymmetric insight (มายาว่าความเข้าใจไม่เท่ากัน)เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดว่า ความรู้ของตนเกี่ยวกับคนรอบตัว มากกว่าความรู้ของคนรอบตัวเกี่ยวกับตน[77]
Illusion of external agency (มายาว่ามีผู้กระทำภายนอก)เมื่อบุคคลเห็นความชอบใจที่เกิดขึ้นภายในตนว่า มีเหตุจากผู้กระทำอื่นที่ฉลาด มีประสิทธิภาพ และเห็นประโยชน์แก่ตน
Illusion of transparency (มายาว่าโปร่งใส)บุคคลประเมินว่า คนอื่นรู้จักตนดีเกินจริง และประเมินความสามารถของตนในการรู้จักผู้อื่นเกินจริง
Illusory superiority (ความเหนือกว่าเทียม)เป็นการประเมินคุณสมบัติที่น่าชอบใจของตนเกินจริง และประเมินคุณสมบัติที่ไม่น่าชอบใจต่ำกว่าความเป็นจริง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่น[78]
Ingroup bias (ความเอนเอียงในพวกตน)เป็นความโน้มเอียงที่จะปฏิบัติต่อผู้อื่นที่มองว่าเป็นสมาชิกในกลุ่มของตนดีกว่าคนอื่น
Just-world hypothesis (สมมติฐานโลกยุติธรรม)เป็นความโน้มเอียงที่จะเชื่อว่า โลกนี้โดยหลักแล้วยุติธรรม เป็นเหตุให้พยาายามหาเหตุผลผิด ๆ ในเรื่องที่ไม่ยุติธรรมว่า ผู้รับเคราะห์หรือเหยื่อสมควรที่จะได้รับเคราะห์เช่นนั้น
Moral luck (โชคตามจริยธรรม)เป็นความโน้มเอียงที่จะตัดสินบุคคลว่าดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับผลของเหตุการณ์
Naïve cynicism (ความไม่เชื่อใจผู้อื่นสามัญ)เป็นความคาดหวังอย่างผิด ๆ ว่า คนอื่นมีความเอนเอียงเห็นแก่ตัวมากกว่าตน
Naïve realism (สัจนิยมสามัญ)ความเชื่อว่าเราเห็นโลกตามความเป็นจริง โดยไม่เอนเอียง ว่าความจริงนั้นปรากฏให้เห็นชัดเจนกับทุกคน ว่าคนมีเหตุผลอื่นจะเห็นด้วยกับเรา และว่าคนที่ไม่เห็นด้วยเป็นคนที่ไม่มีข้อมูล ขี้เกียจ ไร้เหตุผล หรือว่ามีความเอนเอียง
Outgroup homogeneity bias (ความเอนเอียงเห็นคนกลุ่มอื่นเหมือน ๆ กัน)บุคคลมองเห็นสมาชิกในกลุ่มของตนว่าต่าง ๆ กันมากกว่าสมาชิกของชนกลุ่มอื่น[79]
Projection bias (ความเอนเอียงโดยยิงให้ผู้อื่น)ความโน้มเอียงที่จะถือเอาว่า คนอื่น (หรือว่าตนเองในอนาคต) จะมีความรู้สึก ความคิด และค่านิยม เหมือนกับตนในปัจจุบัน[80]
Self-serving bias (ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง)เป็นความโน้มเอียงที่จะอ้างความรับผิดชอบต่อเรื่องสำเร็จมากกว่าเรื่องที่ล้มเหลว อาจจะปรากฏเป็นความโน้มเอียงในการประเมินข้อมูลที่ไม่ชัดเจนโดยให้ประโยชน์กับตน (สัมพันธ์กับ group-serving bias)[81]
Shared information bias (ความเอนเอียงต่อข้อมูลแชร์)เป็นความโน้มเอียงที่สมาชิกในกลุ่มจะให้เวลาและความสนใจสนทนาเรื่องที่สมาชิกทุกคนคุ้นเคย (คือข้อมูลแชร์) มากกว่าที่ให้กับเรื่องที่สมาชิกบางคนเท่านั้นรู้[82]
System justification (การให้เหตุผลกับระบบ)เป็นความโน้มเอียงที่จะป้องกันและสนับสนุนสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน คือชอบใจระบบทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่มีอยู่ และใส่ความระบบทางเลือกอื่น แม้กระทั่งบางครั้งเป็นการเสียประโยชน์ของตนหรือของส่วนรวม (สัมพันธ์กับ status quo bias)
Trait ascription bias (ความเอนเอียงในการถือเอาคุณลักษณะ)เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นตนเองว่ามีความต่าง ๆ กันในด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม และพื้นอารมณ์ ในขณะที่มองผู้อื่นว่า รู้จักได้ง่ายกว่า
Ultimate attribution error (ความผิดพลาดในการอ้างเหตุขั้นสุด)คล้ายกับ fundamental attribution error แต่เป็นความผิดพลาดที่บุคคลจะโทษบุคลิกนิสัยของคนทั้งกลุ่ม ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนเท่านั้น
Worse-than-average effect (ปรากฏการณ์แย่กว่าโดยเฉลี่ย)เป็นความโน้มเอียงที่จะเชื่อว่าตนแย่กว่าคนอื่นโดยเฉลี่ยในงานที่ยาก[83]

ใกล้เคียง

รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน) รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ) รายชื่อตัวละครในวันพีซ รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร รายชื่อสัตว์ รายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน http://books.google.com/books?id=9TUIAAAAQBAJ&pg=P... http://books.google.com/books?id=JRd7RZzzw_wC&pg=P... http://books.google.com/books?id=Vv1vvlIEXG0C&pg=P... http://books.google.com/books?id=sILajOhJpOsC&pg=P... http://books.google.com/books?id=zQ10cPSz1lMC&pg=P... http://www.human-nature.com/nibbs/04/gelman.html http://www.investopedia.com/terms/h/halo-effect.as... http://journals.lww.com/academicmedicine/Fulltext/... http://opinionator.blogs.nytimes.com/2010/06/20/th... http://www.psmag.com/culture/theres-a-name-for-tha...