พัฒนาการของการใช้ริตสึเรียว ของ ริตสึเรียว

มีการปรับปรุงริตสึเรียวอยู่เป็นระยะ ๆ เช่น เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูก ก็มีการตรากฎหมายใน ค.ศ. 723 อนุญาตให้ถือครองที่ดินที่เพาะปลูกได้เป็นช่วงเวลาต่อเนื่องกันสามรุ่นคน เรียกว่า "กฎหมายซันเซอิสชิง" (三世一身の法) แต่ ค.ศ. 743 ก็ออกกฎหมายให้ถือครองได้ไม่จำกัดเวลา เรียกว่า "กฎหมายคนเด็งเอเน็งชิไซ" (墾田永年私財法) ซึ่งทำให้เกิดที่ดินมากมายอยู่ในเงื้อมมือเอกชน นำไปสู่การสร้างจวนที่เรียกว่า "โชเอ็ง" (荘園)

ส่วนการใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการถือครองที่ดินตามวรรณะแบบเคร่งครัดก็เริ่มผ่อนคลายลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8–9[6] แต่ก็มีความพยายามจะคงระบบนี้ไว้ในช่วงจักรพรรดิคัมมุ โดยขยายเวลาจัดสรรที่ดินแต่ละคราวออกไปเป็น 12 ปี ส่วนในต้นยุคเฮอัง แทบจะไม่ได้ใช้ระบบนี้เลย การจัดสรรที่ดินครั้งสุดท้ายมีขึ้นในช่วง ค.ศ. 902–903

ระบบวรรณะเองก็ไม่ค่อยใช้เคร่งครัด เรียวมิงบางคนก็สมรสกับเซ็นมิงเพื่อเลี่ยงภาษี ส่วนเซ็นมิงก็ยอมสมรสด้วยเพื่อที่บุตรคลอดออกมาจะได้วรรณะเรียวมิง พอสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 หรือเริ่มคริสต์ศตวรรษที่ 10 ระบบวรรณะนี้นับว่าสิ้นเนื้อหาสาระในทางปฏิบัติอีก

ใกล้เคียง